Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ มทร.สุวรรณภูมิ บูรณาการองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์มรดกโลกของไทยและเผยแพร่สู่สายตานักวิจัยทั่วโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ขอแสดงความยินดีกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล แก้วบำรุง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ‘’ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อส่งเสริมการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม” เป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรและนักวิจัยที่ประยุกต์องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สู่ศิลปกรรม อีกทั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นมรดกโลกที่สำคัญอันเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ด้วยการนับสนุนของมหาวิทยาลัยส่งผลให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล แก้วบำรุง สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคนิคการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ศิลปกรรมและโบราณคดี เพื่อช่วยทำนายการไหลของกระแสอากาศ ความชื้น และอุณหภูมิ ให้เข้าใจถึงกลไกการเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาซึ่งมีอายุหลายร้อยปี จนประสบความสำเร็จ ด้วยความโดดเด่นของงานวิจัย ANSYS Inc. ซึ่งเป็นบริษัทอันดับหนึ่งของโลกทางด้านซอฟแวร์การคำนวณขั้นสูงทางวิศวกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ คัดเลือกเพื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์หลักอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นนักวิจัยไทยคนแรกและเป็นงานวิจัยทางการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังชิ้นแรกของโลกที่ได้รับคัดเลือกจาก ANSYS Inc. อันแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยสู่สายตานักวิจัยทั่วโลก



ในขั้นตอนการทำวิจัยการลงพื้นที่สำรวจเพื่อประเมินหัวข้อการทำวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกรมศิลปากร กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม เป็นอย่างดี ทำให้สามารถดึงประเด็นปัญหาออกมาวิเคราะห์เพื่อใช้การคำนวณที่แม่นยำได้ อย่างไรก็ตามด้วยสภาวะโลกร้อนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ไม่สมดุลส่งผลให้เกิดความซับซ้อนของปัญหาในทางวิศวกรรมเป็นเงาตามตัว แต่ด้วยความสามารถของนักวิจัยและความร่วมมือที่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้เกิดนวัตกรรมการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนได้ในอนาคตอันใกล้และที่สำคัญ “งานวิจัยทางด้านโบราณสถานและโบราณคดี คือโครงการที่เร่งด่วนของทุกๆ คนบนโลกใบนี้ เพราะทุกสถานที่คือมรดกโลก อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องให้ความสำคัญ” การอนุรักษ์ด้วยวิทยาศาสตร์ มิได้อนุรักษ์เพื่อพิทักษ์ประวัติศาสตร์ของใครคนใดคนนึง เป็นเป็นการกระทำเพื่อรักษาความเป็นรากเง้าของเราทุกคนที่เป็นเจ้าของ



คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
https://fea.rmutsb.ac.th

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.ansys.com/blog/predicting-deterioration-of-ancient-thai-murals-with-cfd

ข้อมูล/ภาพ : ผศ. ดร.มงคล แก้วบำรุง
จัดทำ : นางสาวดารุณี เวียงแกสินทรัพย์

แสดงความคิดเห็น