spoil 

  • ปัจจุบันโควิด-19  มีสายพันธุ์เกิดขึ้นกว่าร้อยสายพันธุ์แล้ว
  • โควิด-19 ไม่ได้ถูกตั้งชื่อหมดทุกตัว โดย WHO แบ่งการตั้งชื่อของสายพันธุ์โควิดออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  สายพันธุ์ที่น่าสนใจ และสายพันธ์ุที่น่ากังวล
  • ประเทศไทยพบเจอโควิด-19  อยู่  6 สายพันธ์ุที่น่ากังวล และ 1 สายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์ที่น่ากังวล

สวัสดีชาวเด็กดี ทุกคนเลยนะคะ วันนี้พี่กลับมาอีกครั้งกับท็อปปิคของโควิด-19! อะ..อะ..อย่าเพิ่งเบื่อกันน้า บอกเลยว่าครั้งนี้น่าสนใจ ได้ความรู้ แถมสนุกอีกด้วย

อย่างที่รู้กันดี แม้สถานการณ์ของโควิด-19 จะมีท่าทีที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีการแพร่ระบาดหนักในบางจุด รวมถึงยังเกิดสายพันธุ์ใหม่อยู่ด้วยเช่นกัน โดยทราบไหมคะ? ว่าจริง ๆ แล้วโควิด-19 นั้นมีสายพันธุ์ที่เยอะมาก ๆ ถ้านับคร่าว ๆ ก็เกิน 100 สายพันธุ์ไปแล้ว! (https://cov-lineages.org/lineage_list.html) แต่ที่ไม่มีชื่อทุกตัว ก็เพราะบางตัวอาจแพร่ระบาดได้น้อย ลักษณะของตัวโรคไม่ได้เด่น ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก 

ซึ่ง WHO หรือ องค์การอนามัยโลก ก็ได้ตั้งชื่อให้แค่สายพันธุ์ที่อยู่ในสองประเภทหลัก ได้แก่ สายพันธุ์ที่น่าสนใจ และสายพันธ์ุที่น่ากังวล

ภาพจาก  pexels.com
ภาพจาก  pexels.com

สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

คือ สายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ส่งผลให้มีคุณสมบัติต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การแพร่กระจายเชื้อ การหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยเพื่อรักษา ความรุนแรงของโรค วัคซีน

รวมถึงจะดูอีกด้วยว่า การแพร่กระจายของโรคมีทิศทางเป็นอย่างไร หากระบาดในกลุ่มชุมชนหลายประเทศ มีแนวโน้มส่งผลกระทบในวงกว้างก็จะนับว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจ

ในกลุ่มนี้จะได้แก่ เอปไซลอน, ซีตา, อีตา, ทีตา, ไอโอตา, แลมบ์ดา, มิว

สายพันธุ์ที่น่ากังวล

คือ สายพันธุ์ที่ตรงกับนิยามของสายพันธุ์ที่น่าสนใจ แต่มีข้อบ่งชี้ที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

- แพร่ระบาดหนัก หรือมีการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของโรค

- ตัวโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 

- ลดประสิทธิภาพการรักษา เช่น การตรวจวินิจฉัย กระบวนการรักษา วัคซีน

ในกลุ่มนี้จะได้แก่  อัลฟ่า, เบต้า, เดลตา, แกรมมา, โอมิครอน

โดยหากสังเกตุดูก็จะพบว่าชื่อของสายพันธุ์ที่ถูกตั้งนั้นน่าสนใจมาก ๆ เพราะไม่ได้ถูกตั้งตามประเทศที่พบเจอ แต่เป็นการตั้งชื่อตามตัวอักษรภาษากรีก

WHO ระบุว่า การตั้งชื่อของสายพันธุ์จะเน้นให้ออกเสียงง่าย ไม่ตีตราว่าสายพันธุ์ไหนมาจากประเทศอะไร ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญรวมถึง WHO จึงได้เสนอชื่อตัวอักษรภาษากรีก ซึ่งง่ายต่อการสื่อสารของคนทุกกลุ่ม

เอาล่ะ ต่อไปเราลองย้อนไปดูกันดีกว่าว่าประเทศไทยมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ไหนบ้าง และตัวล่าสุดเป็นอย่างไร รวมถึงสายพันธุ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจแต่ไม่พบการระบาดในประเทศไทย

ภาพจาก  pexels.com
ภาพจาก  pexels.com

โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 

เจอครั้งแรก: อู่ฮั่น ประเทศจีน ธันวาคม พ.ศ. 2562 

เจอในประเทศไทย: มกราคม พ.ศ. 2563

- อาการส่วนใหญ่

ไข้, ไอแห้ง, หอบเหนื่อย, อ่อนเพลีย, รับรสและได้กลิ่นผิดปกติ

เบตา (Beta)

รหัสไวรัส: B.1.351

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่ากังวล

เจอครั้งแรก: ประเทศแอฟริกาใต้ พฤษภาคม พ.ศ. 2563 

เจอในประเทศไทย: มกราคม พ.ศ. 2564

- อาการส่วนใหญ่

เจ็บคอ, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ท้องเสีย, ตาแดง, รับรสและได้กลิ่นผิดปกติ, ผื่นขึ้นตามผิวหนัง, นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

อัลฟา (Alpha)

รหัสไวรัส: B.1.1.7

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่ากังวล

เจอครั้งแรก: ประเทศอังกฤษ กันยายน พ.ศ. 2563 

เจอในประเทศไทย: เมษายน พ.ศ. 2564

- อาการส่วนใหญ่

ไข้, ไอแห้ง, เจ็บคอ, หายใจลำบาก, ปวดกล้ามเนื้อ, สูญเสียการรับรสและกลิ่น, คัดจมูก, คลื่นไส้อาเจียน, ท้องเสีย

ภาพจาก  bbc.com
ภาพจาก  bbc.com

แกมมา (Gamma)

รหัสไวรัส: P.1

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่ากังวล

เจอครั้งแรก: ประเทศบราซิล พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 

เจอในประเทศไทย: พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (พบแค่ผู้ที่กลับจากต่างประเทศ ไม่มีการแพร่ระบาด)

- อาการส่วนใหญ่

อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา, ปวดศีรษะ, เจ็บคอ, มีน้ำมูก, ไม่ค่อยสูญเสียการรับรส

เดลตา (Delta)

รหัสไวรัส: B.1.617.2

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่ากังวล

เจอครั้งแรก: ประเทศอินเดีย ตุลาคม พ.ศ. 2563

เจอในประเทศไทย: พฤษภาคม พ.ศ. 2564

- อาการส่วนใหญ่

อาการเหมือนภูมิแพ้ทั่วไป, ไข้, ปวดศีรษะ, เจ็บคอ, ไม่รับกลิ่น, มีน้ำมูก

โอมิครอน (Omicron)

รหัสไวรัส: B.1.1.529

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่ากังวล

เจอครั้งแรก: หลายประเทศ พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เจอในประเทศไทย: ธันวาคม พ.ศ. 2564

- อาการส่วนใหญ่

ปวดศีรษะ, เจ็บคอ, มีน้ำมูก, ไข้, ไอจาม, ไม่รับกลิ่น

ภาพจาก  thainews.prd.go.th
ภาพจาก  thainews.prd.go.th

โอมิครอน ชนิด BA.4/BA.5 

รหัสไวรัส: BA.4/BA.5

ประเภท: สายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์ที่น่ากังวล ต้องเฝ้าติดตาม

เจอครั้งแรก: ประเทศแอฟริกาใต้ มกราคม พ.ศ. 2565

เจอในประเทศไทย: เมษายน พ.ศ. 2565

- อาการส่วนใหญ่

ไข้, ไอแห้ง, เหนื่อยล้า, คัดจมูกมีน้ำมูก, หายใจลำบาก, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะ, สูญเสียการรับรสและกลิ่น, คลื่นไส้อาเจียน, ท้องร่วง

นอกจากนี้ยังมีสายพันธ์ุอื่น ๆ แต่ไม่พบการระบาดในประเทศไทย ได้แก่ 

ภาพจาก freepik.com
ภาพจาก freepik.com

เอปไซลอน (Epsilon)

รหัสไวรัส: B.1.427/B.1.429

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศสหรัฐอเมริกา มีนาคม พ.ศ. 2563

ซีตา (Zeta)

รหัสไวรัส: P.2

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศบราซิล เมษายน พ.ศ. 2563

อีตา (Eta)

รหัสไวรัส: B.1.525

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: หลายประเทศ ธันวาคม พ.ศ. 2563

ทีตา (Theta)

รหัสไวรัส: P.3

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศฟิลิปปินส์ มกราคม พ.ศ. 2563

ภาพจาก freepik.com
ภาพจาก freepik.com

ไอโอตา (Iota)

รหัสไวรัส: B.1.526

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศสหรัฐอเมริกา พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

แคปปา (Kappa)

รหัสไวรัส: B.1.617.1

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศอินเดีย ตุลาคม พ.ศ. 2563

แลมบ์ดา (Lambda)

รหัสไวรัส: C.37

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศเปรู ธันวาคม พ.ศ. 2563

มิว (Mu)

รหัสไวรัส: B.1.621

ประเภท: สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

เจอครั้งแรก: ประเทศโคลอมเบีย มกราคม พ.ศ. 2564

แม้การระบาดอาจไม่ได้หนักเหมือนช่วงแรก  ๆ แต่เราก็ยังคงสามารถติดเชื้อได้อยู่ การป้องกันอย่างการล้างมือด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์หรือน้ำสบู่ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่อับ ยังคงเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราปลอดภัยหายห่วงมากขึ้น ยังไงก็อย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

อ้างอิงจากhttps://health.fmolhs.org/body/covid-19/alpha-variant-vs-delta-variant-how-are-the-symptoms-different/https://www.al.com/news/2022/06/ba4-and-ba5-new-covid-variants-here-are-the-symptoms.htmlhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8342008/https://www.bbc.com/news/health-55659820https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Lambda-strain-of-Covidhttps://cov-lineages.org/lineage_list.htmlhttps://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30953https://workpointtoday.com/first-thaiomicron/
พี่เอย
พี่เอย - Columnist คอลัมนิสต์ผู้หลงรักการกิน และอินซีรีส์เกาหลีมากถึงมากที่สุด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด