เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ : นักพัฒนาแอปพลิเคชัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ไอแพด และอื่นๆ โดยภายในอุปกรณ์เหล่านี้จะมีโปรแกรมประยุกต์หรือที่คุ้นชื่อว่า "แอปพลิเคชัน" ให้โหลดมาใช้ ซึ่งช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันสะดวกมากขึ้น เช่น Mobile Banking, แอปติดต่อสื่อสาร, แอปเรียกรถโดยสาร, แอปสั่งอาหาร ด้วยเหตุนี้ทำให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันกลายเป็นอาชีพในฝันของน้องๆ หลายคนเลยค่ะ

เพราะฉะนั้นวันนี้พี่โบว์จะพาน้องๆ ทุกคนไปดูอาชีพ "นักพัฒนาแอปพลิเคชัน" กันว่ามีอะไรน่าสนใจ ต้องเรียนคณะไร ถ้าอยากประกอบอาชีพนี้เราต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ "นักพัฒนาแอปพลิเคชัน"
เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ "นักพัฒนาแอปพลิเคชัน"

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ 
"นักพัฒนาแอปพลิเคชัน"

แนะนำอาชีพ "นักพัฒนาแอปพลิเคชัน"

แอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรมประยุกต์ จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในปัจจุบันเลยนะคะ เพราะไม่ว่าเราจะดำเนินการทำอะไรก็เริ่มต้องหันมาพึ่งพาสิ่งเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้เรามีความสะดวกสบายมากกว่าเดิมด้วย เช่น Mobile Banking ที่ปัจจุบันเราไม่ต้องไปถอนเงินที่ ATM หรือธนาคาร เพียงแค่มีแอปในมือถือก็สามารถชำระเงินได้แล้ว ซึ่งแอปพลิเคชันต่างๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จึงทำให้อาชีพนักพัฒนาแอปพลิเคชันได้รับความนิยมและมีความสำคัญมากขึ้น

นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Developer) คือ ผู้สร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งแอปที่พัฒนาขึ้นจะต้องช่วยอำนวยความสะดวกและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ลักษณะงานมีความใกล้เคียงกับ Programmer, Software Engineer, Software Developer โดยต้องใช้ภาษาสำหรับพัฒนาโปรแกรม (Programming Language) ให้เหมาะสมกับแต่ละงานค่ะ

ดังนั้นนักพัฒนาแอปพลิเคชันต้อง “ทำสิ่งที่เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้” เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของผู้บริโภค รวมถึงเทคโนโลยีที่ต่างแข่งขันกันก้าวเข้าสู่โลกแห่งอนาคตและกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี ท้ายที่สุดเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน และช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้มากยิ่งขึ้น

คุณสมบัติของคนที่จะทำอาชีพนี้

  • ก้าวทันเทคโนโลยีและสถานการณ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นกระแสอาจซาลงและไม่ได้กระแสตอบรับที่ดีมากเท่าที่ควร อีกทั้งหากเริ่มต้นงานเร็วก็จะยิ่งได้เปรียบกว่าอีกบริษัทหนึ่งค่ะ
นักพัฒนาแอปพลิเคชัน ควรเป็นผู้ที่ก้าวทันเทคโนโลยีและเรียนรู้สิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
นักพัฒนาแอปพลิเคชัน ควรเป็นผู้ที่ก้าวทันเทคโนโลยีและเรียนรู้สิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

ต้องจบคณะ/สาขาอะไร?

ได้ยินชื่ออาชีพแล้ว น้องๆ หลายคนคงจะพอนึกออกว่าต้องเรียนคณะ/สาขาด้าน IT (Information Technology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคอม เทคโนโลยี และการเขียนโค้ดอะไรพวกนี้ ดังนั้นจะมีอยู่ 2 หลักสูตร 3 สาขาหลักๆ ที่ควรเก็บไว้ในลิสต์ ได้แก่

  1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์/วิศวกรรมซอฟแวร์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นราธิวาสราชนครินทร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นครพนม
  • สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
  • คณะเทคโนโลยี ม.ราชภัฏอุดรธานี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เอเชียอาคเนย์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.พะเยา
  • วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต
  • วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สยาม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (นานาชาติ)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (โครงการพิเศษ)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นานาชาติ)
  • สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.พะเยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 

  1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (สีดำ) 
  2. วิศวกรรมซอฟแวร์ (สีแดง)
  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
  • วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.ขอนแก่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี  ม.เชียงใหม่ (นานาชาติ)
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล (นานาชาติ)
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (นานาชาติ)
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ ม.มหาสารคาม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.พะเยา
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ ม.บูรพา
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ ม.บูรพา
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สวนดุสิต
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ราชภัฏจันทรเกษม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏเชียงใหม่
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏนครราชสีมา
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.ราชภัฏชัยภูมิ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏพระนคร
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ม.ราชภัฏยะลา
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏสงขลา
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ราชภัฏอุดรธานี
  • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
  • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรี
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ม.กรุงเทพ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อัสสัมชัญ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.หอการค้าไทย
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เอเชียอาคเนย์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.พะเยา
  • วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี ม.รังสิต
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เกษมบัณฑิต
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.สยาม
สาขาด้าน IT มีอยู่ 3 สาขาหลักๆ  ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาด้าน IT มีอยู่ 3 สาขาหลักๆ  ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ค่าเทอมของหลักสูตรนี้

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 25,500 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ : 17,300 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น : 15,000 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ : 16,000 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ : 18,200 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล : 30,000 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร : 19,000 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ : 25,000 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ : 18,000 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร : 16,000 บาท / เทอม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (นานาชาติ) : 60,700 บาท / เทอม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (โครงการพิเศษ)  : ตลอดหลักสูตรประมาณ 432,000 บาท
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นานาชาติ)  : 90,000 บาท / เทอม
  • สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.แม่ฟ้าหลวง : 30,000 บาท / เทอม
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.พะเยา : 21,000 บาท / เทอม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 

  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 25,500 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ : 16,300 บาท / เทอม
  • วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.ขอนแก่น : 12,000 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ : 16,000 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ : 17,300 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร : 19,000 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ : 24,000 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ : 18,000 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร : 16,000 บาท / เทอม
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ ม.บูรพา : 23,000 บาท / เทอม

วิชาที่น่าจะเกี่ยวข้อง (อ้างอิงจากปี 2565)

  • TGAT แทน GAT
  • A-Level แทน PAT1 และ 7 วิชาสามัญ (คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, สังคมศึกษา, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ)
  • TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ แทน PAT2
  • TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ แทน PAT3 *เฉพาะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หากใครอยากเป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชัน นอกจากเรียน 1 ใน 3 สาขาข้างต้นแล้ว ต้องคอยเก็บสะสมผลงานและประสบการณ์ไว้ให้มากนะคะ เพราะจะมีผลต่อการพิจารณารับเข้าทำงาน อีกทั้งยังมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง โดยเงินเดือนมักสตาร์ทอยู่ที่ 18,000 - 20,000 บาทค่ะ

ขอขอบคุณรูปภาพจากhttps://www.freepik.com/author/pressfotohttps://www.freepik.com/author/rawpixel-comhttps://www.freepik.com/author/dcstudio
พี่โบว์
พี่โบว์ - Converter แปลงไฟล์อีบุ๊กนิยาย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น