จริงไหม? การใส่มาสก์ช่วยลดความหวาดระแวงในการเข้าสังคม

Spoil

  • ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) การสวมมาสก์อาจทำให้รู้สึกกล้าที่จะพูดคุยกับคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
  • จากการที่เราต้องปรับวิถีชีวิตให้อยู่กับสภาวะโรคระบาดมาอย่างยาวนาน เมื่อเวลาที่เราต้องถอดมาสก์เปิดเผยใบหน้ากับบุคคลทั่วไป อาจทำให้เรารู้สึกวิตกหรือประหม่ามากขึ้นได้  
  • การแก้ไขที่ดีที่สุดคือการเผชิญหน้ากับความกลัวในใจเรา ฝึกการพูดและสบตากับคู่สนทนา 

บทความนี้มีเจตนานำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของความรู้สึกผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม ไม่ได้มีเจตนาจะพูดถึงข้อดีของสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญอยู่แต่อย่างใด

ตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลก หน้ากากอนามัยหรือมาสก์ก็กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของเราไปเสียแล้ว การใส่มาสก์เป็นเกราะในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของเรา และสำหรับผู้เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) การใส่มาสก์ยังช่วยปิดบังใบหน้ารวมไปถึงเป็นเกราะช่วยอำพรางตัวตนทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความตื่นตระหนก (anxiety) ได้อีกด้วย

ภาพจาก Freepik.com
ภาพจาก Freepik.com 

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) และชีวิตภายใต้หน้ากากอนามัย

ต้นตอของโรคกลัวการเข้าสังคม หรือ Social Anxiety มาจาก ภาวะความกลัวว่าจะถูกผู้อื่นตัดสินเมื่อไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือเมื่อมีคนอื่นจ้องมองมาที่เรา โดยอาจกังวลว่าคนอื่นจะมองเรายังไงไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ของเรา, ชุดที่ใส่, การพูดหรือการกระทำของเรา เป็นต้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม  ส่งผลให้รู้สึกไม่ปลอดภัยและหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาค่ะ อาการของโรคนี้จะมีตั้งแต่ เหงื่อออกมาก ใจสั่น มือสั่น หรือรู้สึกคลื่นไส้ ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องอยู่ในสังคม

สำหรับผู้ป่วยในโรคกลัวการเข้าสังคมจะรู้สึกว่าการสวมมาสก์นอกจากจะเพื่อป้องกันเชื้อโรคแล้วยังทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจยิ่งขึ้น เพราะไม่มีใครเห็นหรือสังเกตการแสดงออกในตัวของพวกเขาได้ 

“ฉันก็กังวลน้อยลงนะเวลาเดินผ่านใคร การสวมมาสก์เป็นเกราะป้องกันให้กับฉันได้ดี มันช่วยลดความกังวลที่เกิดขึ้นว่าใครจะมาพูดถึงลักษณะของฉันอย่างไร” ตัวอย่างของผู้ที่ป่วยเป็น Social Anxiety อายุ 29 ปี สาเหตุมาจากการกลัวว่าตัวเองจะทำอะไรอย่างไม่เหมาะสมในสังคม “ซึ่งฉันไม่ต้องมานั่งกังวลเป็นครึ่งชั่วโมงว่าคนที่ฉันเดินผ่านเขาจะรู้สึกต่อฉันอย่างไร”  เธอเน้นย้ำ 

 

“ฉันรู้สึกวิตกกังวลน้อยลง เพราะมันจะไม่มีใครเห็นการแสดงออกทางสีหน้้าของฉัน”                                       หนึ่งในผู้ที่เข้ารับการบำบัดโรคกลัวการเข้าสังคมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ                            

 

“ขณะที่ฉันสูดหายใจเข้าลึกๆ  ก่อนจะเข้าไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อ การสัมผัสได้ถึงมาสก์ที่ปกปิดอยู่บนใบหน้าเคลื่อนไหวไปตามแรงหายใจทำให้ฉันรู้สึกมีสมาธิและเรียกสติฉันได้มากยิ่งขึ้น”   ชายอายุ 40 ปีคนหนึ่งกล่าว 

ภาพจาก Freepik.com
ภาพจาก Freepik.com 

                                                                                                                                                                  

โลกหลังโควิด...ในวันที่เราไม่ต้องมีมาสก์อยู่บนใบหน้าอีกต่อไป 

ปกติแล้วความวิตกกัวลเมื่อเวลาเข้าสังคม จะเกิดจากความปรารถนาที่ต้องการจะกลมกลืนไปกับบรรทัดฐานของสังคมและหลีกเลี่ยงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น แต่เมื่อเกิดโรคระบาดทำให้มีบรรทัดฐานของสังคมแบบใหม่เกิดขึ้น ส่งผลให้ค่านิยมหรือการประพฤติทางสังคมแบบเดิมอาจเปลี่ยนไป  เช่นจากที่เคยจับตัวเวลาที่ทักทายกัน สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นเรื่องที่ถูกงดเว้นไปแล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน

ในขณะเดียวกันลองจินตนาการว่าถ้าวันหนึ่งที่เราสามารถถอดมาสก์เวลาออกนอกบ้านได้แล้ว แน่นอนว่าอย่างแรกที่ทุกคนจะรู้สึกคือ  “ไม่ชิน”  ถูกไหมคะ? อยู่กับมันมาตั้งหลายปีไม่พอที่ผ่านมาใส่กันตั้งสองสามชั้น วันนึงถ้าเราได้ถอดมาสก์กันแล้วก็คงรู้สึกแปลกๆ หรือโล่งๆ บ้างเป็นธรรมดา                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

แต่บางคนระดับความไม่ชินนี้อาจมีมากกว่าปกติจนสามารถสังเกตตัวเองได้ว่า รู้สึกประหม่ามากขึ้นเมื่อเราต้องพูดคุยกับผู้อื่นโดยปราศจากมาสก์บนใบหน้า               และยิ่งเป็นผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมพวกเขาอาจต้องใช้เวลาปรับตัวที่มากกว่าคนปกติทั่วไป    ในการปรับตัวใช้ชีวิตที่ปราศจากมาสก์                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            

วิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดความวิตกกังวล               ในการเข้าสังคม

วิธีเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งผู้ที่เป็นโรค Social Anxiety เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรือสำหรับคนที่เพิ่งจะรู้สึกแพนิค, มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นหากต้องถอดมาสก์เพื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นก็ได้ค่ะ

David A. Moscovitch ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ University of Waterloo ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผู้ที่กำลังเผชิญสภาวะ  Social Anxiety ไว้ว่า :

  • “ถ้าเราเลือกที่จะหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกตระหนกกังวล  แน่นอนมันทำให้เรารู้สึกดีขึ้น แต่ก็แค่ในระยะสั้นเท่านั้นและมันจะนำไปสู่ความรู้สึกกังวลที่มากกว่าเดิมในระยะยาว ยิ่งเรารู้สึกตื่นตระหนกมากขึ้นเท่าไหร่...เราก็จะหลีกเลี่ยงมันได้ยากมากขึ้นเท่านั้น” 

 

  • “เราอาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบายในตอนแรกๆ แต่เราควรจะฝึกมันบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้ ดีกว่าการที่เราเลือกที่จะหลีกเลี่ยงมัน พยายามเผชิญหน้ากับความกลัวในใจของเราและเอาชนะมันให้ได้”  

 

  • “ลองสบตาและยิ้มให้กับผู้ที่สนทนาด้วย หมั่นฝึกสิ่งเหล่านี้เพื่อความคุ้นชินของตัวเอง  แล้วเราจะทำมันได้ง่ายขึ้น จนรู้สึกเชี่อมโยงกับคนอื่นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น คนอื่นก็จะรู้สึกแบบเดียวกับคุณเช่นกัน” 

 

 น้องๆ คนไหนมีอาการวิตกกังวลเวลาเข้าสังคมหรือเมื่อต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้าบ้างคะ? มาเล่าให้ฟังหน่อยนะ การสวมหน้ากากอนามัยเวลาไปในที่สาธารณะทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้นบ้างไหม?  หวังว่าวิธีที่พี่ออมนำมาฝากจะช่วยบรรเทาอาการที่น้องๆ กำลังเผชิญอยู่ได้นะคะ ไว้โควิดหายเรามาเจอกันนะ :) 

ภาพจาก Freepik.com
ภาพจาก Freepik.com 

 

 

ข้อมูลจากhttps://www.cnbc.comhttps://elemental.medium.comhttps://www.rama.mahidol.ac.th

 

พี่ออม
พี่ออม - Columnist สาวตาหยี ผู้คลั่งไคล้ในน้องหมา เฮฮา รักธรรมชาติ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด