ตีแผ่ปัญหาความรุนแรงทางเพศที่ 'ผู้หญิงต่างชาติ' ประสบในเกาหลีใต้!

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย สังคมเรายังคงมีประเด็นเรื่อง ‘ความรุนแรงทางเพศ’ อยู่เสมอ เช่นเดียวกับ ‘เกาหลีใต้’ ที่มีข่าวแนวนี้ปรากฏให้เห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ  และไม่ได้เกิดแค่คนในประเทศเท่านั้น เพราะว่า ‘ชาวต่างชาติ’ ที่อาศัยอยู่ในเกาหลีหลายคนก็ประสบและได้รับความเจ็บปวดไม่น้อยเลยทีเดียว 

ล่าสุดทาง The Korea Times และ หนังสือพิมพ์ Hankook Ilbo ทำสกู๊ปเพื่อตีแผ่ถึงประเด็นนี้ และได้สัมภาษณ์ผู้หญิงชาวต่างชาติที่เคยประสบกับความรุนแรงทางเพศจากผู้ชายเกาหลี โดยทุกรายไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผยชื่อจริง ฉะนั้นชื่อที่ทุกคนกำลังจะได้อ่านทั้งหมดจึงเป็นแค่นามแฝงนั่นเองค่ะ

Trigger Warning! 

  • Sexual Violence ความรุนแรงทางเพศ
  • Sexual Harassment  คุกคามทางเพศทั้งทางคำพูดและการกระทำ
  • Sexual Assault / rape มีการล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน

หลังจากที่ฉันถูกข่มขืน ฉันใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนในการรวบรวมกำลังเพื่อดำเนินคดี”

เจนนิเฟอร์ เหยื่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ให้สัมภาษณ์เป็นคนแรกเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอในคืนนั้น “จริงๆ แล้วเราเป็นเพื่อนกัน และเคยไปเที่ยวกับเพื่อนคนอื่นๆ ที่รู้จักกันเป็นบางครั้ง” เธอบอกกับ The Korea Times และเล่าต่อว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อได้ออกไปดื่มด้วยกัน ทั้งสองคนทะเลาะกันที่นอกบาร์ ฝ่ายชายคว้าไหล่เจนนิเฟอร์แล้วเริ่มทำร้ายร่างกายจนเธอตกใจและหมดสติไป

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

จากนั้นเจนนิเฟอร์ก็จำได้ว่าเธอถูกลากไปที่โมเต็ล เธอบอกว่าเธอเจ็บไปทั้งร่างกาย ปากแตกจนเลือดออกแต่ไม่สามารถจำได้ว่าผู้ชายคนนั้นทำอะไรบ้าง และที่นั่นเจนนิเฟอร์ถูกข่มขืนทั้งหมดสี่ครั้งเลยค่ะ 

“เขาไม่ยอมปล่อยฉันไปและเมื่อถึงครั้งที่สี่ ฉันรู้สึกเหนื่อยและหมดหวังมาก จนต้องบอกว่าทำมันให้เสร็จสักที ถ้านี่คือสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ”

คุณฟลาวเวอร์ ชาวต่างชาติชาวแอฟริกาใต้ เหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศอีกรายก็ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่คล้ายกันค่ะ

“จริงๆ แล้วเราคบกันได้ประมาณหนึ่งเดือน แต่ฉันไม่รู้สึกอยากที่จะมีอะไรกับเขา นี่เลยทำให้ฉันอึดอัดมาก” ในวันหนึ่งที่ทั้งสองคนออกไปเดทกันจนดึกและไม่สามารถขึ้นรถไฟใต้ดินกลับได้ ทางฝ่ายผู้ชายก็ได้ชวนเธอเข้าพักที่โรงแรมเพื่อพักผ่อน ซึ่งเธอก็ตอบตกลงไปโดยไม่ได้คิดอะไรค่ะ

“ฉันบอกเขาว่า ‘ขอโทษนะแต่ฉันไม่อยากทำอะไรเลย ฉันแค่อยากนอน’ แต่เขาไม่ฟังเขาตรึงฉันไว้กับเตียงและเริ่มทำ ฉันขอร้องให้เขาใส่ถุงยางป้องกันด้วย แน่นอนว่าเขาก็เมินคำพูดฉันอีก”

ฟลาวเวอร์เล่าว่าเธอขอร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ฝ่ายชายหยุดแต่เขาก็ไม่ฟัง และในอีกหนึ่งเดือนต่อมาเธอก็พบว่าเธอท้อง....

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

ในระหว่างการสัมภาษณ์นั้นฟลาวเวอร์ (รวมถึงเหยื่อคนอื่นๆ) น่าสงสารมากเลยค่ะ โดยเฉพาะคุณฟลาวเวอร์ที่รู้สึกอ่อนไหวมากเมื่อพูดถึงการตั้งครรภ์อันเป็นผลมาจากการข่มขืน “นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันจะพูดถึงเรื่องนี้ในที่สาธารณะ เหตุการณ์นั้นมันเปลี่ยนชีวิตฉันไปเลย”

เพราะนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เธอต้องรับมือกับความวิตกกังวลต่างๆ เธอไม่เคยออกมาพูดถึงเรื่องนี้เลยสักครั้ง และได้แต่เก็บความเครียดนั้นไว้คนเดียว

“ในเมื่อผู้ชายต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากสำหรับการเดทผู้หญิงสักคน มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เค้าควรจะได้รับผลตอบแทนจากเงินที่เสียไป ยกตัวอย่างเช่น การข่มขืนแม้ว่าจะไม่เต็มใจก็ตาม”
- หนึ่งในเนื้อหาที่ปรากฏบนหนังสือวิชาเพศศึกษาของเกาหลีใต้ (ปี 2015) จากบทความ “เปิดหลักสูตร 'Sex Education' ในเกาหลี ที่ไม่สอนป้องกันแต่ปลูกฝังการแบ่งแยกเพศ!” 

ความกลัวที่จะต้องเล่าคดี

ฟลาวเวอร์เล่ากับ The Korea Times ว่ามีผู้หญิงต่างชาติจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศแต่ไม่กล้าที่จะไปแจ้งความ แต่ละคนมีเหตุผลอะไร ตามมาอ่านกันต่อเลยค่ะ

“ฉันมักได้ยินเพื่อนหลายคนเล่าให้ฟังว่า พวกเธอถูกชายวัยกลางคนจับก้นที่สถานีรถไฟใต้ดินและพยายามจะถ่ายรูปเธอ แต่คนส่วนมากมักไม่พูดถึงปัญหาเหล่านี้ เพราะพวกเขากลัวตกงานและกลัวขายหน้า”

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

คุณจองแจฮยอง (Jeong Jae-hyung) ผู้ตรวจการแผนกอาชญากรรมเด็กและเยาวชนและความรุนแรงทางเพศที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (NPA) กล่าวว่าเหยื่อหลายคนไม่เต็มใจที่จะแจ้งความ เนื่องจากกลัวปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา รวมถึงอุปสรรคทางภาษาและการขาดข้อมูลด้านการช่วยเหลือ

 “อุปสรรคเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อ และถูกเอาเอาเปรียบได้ง่ายขึ้น” 

จากข้อมูลล่าสุดที่จัดทำโดย Korean Statistical Information Service (KOSIS) ในปี 2020 มีชาวต่างชาติทั้งหมด 2,036,075 คนอาศัยอยู่ในเกาหลี ซึ่งมีการโทรติดต่อสายด่วนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศในปีที่แล้ว 55 ครั้ง รวมทั้งหมด 747 คดีจาก 39,296 คดีที่รายงานการล่วงละเมิดทางเพศในปี 2020 

กำแพงภาษาที่ต่างกัน

อุปสรรคทางภาษาถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการแจ้งความค่ะ เพราะเหยื่อหลายคนพบปัญหาในขั้นตอนการเล่าเรื่องตนเองต่อตำรวจ เช่นเจนนิเฟอร์ที่หลังจากให้คำให้การแก่อัยการในระหว่างการสอบสวนเพื่อนำคดีไปสู่ศาล เธอต้องพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นแม้จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามก็ตาม

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

“ฉันต้องพูดซ้ำหลายครั้ง มันมีบางอย่างผิดปกติกับการแปลคำให้การที่พวกเขาไม่เข้าใจ อัยการจึงขอให้ฉันเล่าเพื่อตอกย้ำเหตุการณ์นั้น”

ทุกคนลองนึกนะคะว่าน่าอึดอัดขนาดไหน พอมีอุปสรรคด้านภาษาแล้วเจนนิเฟอร์ต้องเล่าเพื่อเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ เธอคงรู้สึกเหมือนถูกขังอยู่ในความทรงจำว่าถูกข่มขืนสี่ครั้ง แล้วต้องเล่าต่อหน้าทุกคนรวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนด้วย T_T

ขาดความอ่อนไหวเรื่องเพศ

ในอดีตคดีที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศล้วนเคยได้รับการจัดการโดยแผนกคดีอาญาค่ะ แต่หลังจากที่ผู้หญิงจำนวนมากหยิบประเด็นเรื่องการขาดความอ่อนไหวทางเพศ (ประมาณว่ารักษาหน้าและน้ำใจเหยื่อ) ทางเกาหลีเลยสร้างสร้างแผนกสืบสวนแยกสำหรับสตรีและวัยรุ่นขึ้นมาค่ะ

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

เหยื่ออีกท่านหนึ่งชื่อ แพทริเซีย กล่าวว่าเธอรู้สึกตกใจกับการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนจัดการกับคดีโดยไม่มีความรู้สึกใดๆ เลย เพราะเธอมีประสบการณ์การไปหาตำรวจเพื่อแจ้งความในคดีที่มีคนแปลกหน้าล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานมาก่อน “พวกเขาตะโกนข้อมูลส่วนตัวของฉันให้กันและกัน ในขณะที่ฉันอธิบายเรื่องราวอย่างเงียบๆ กับเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง แต่เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งก็ตะโกนว่า ‘เขาตีคุณหรือเปล่า’ ‘เขาสัมผัสคุณหรือเปล่า’ โดยไม่มีความเกรงใจ”

“เรากำลังพยายามทำให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่จะละเอียดอ่อนเมื่อต้องรับมือกับเหยื่อการข่มขืน” คุณจองแจฮยองกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังได้รับการศึกษาให้รวบรวมคำแถลงจากเหยื่อ เพื่อช่วยให้เหยื่อรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยมากขึ้น เครื่องมือนี้จะแปลงคำให้การเป็นข้อความโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้เสียหายไม่รู้สึกราวกับว่ากำลังถูกสอบปากคำ

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

ลินดา ยังบอกด้วยว่าเธอมีประสบการณ์ไม่ดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เธอถูกถามคำถามที่ไม่จำเป็นและไม่เหมาะสม เช่นถามเธอว่าทำงานอะไร และพักอยู่ที่ไหน 

“พวกเขาบอกว่าจะตามฉันกลับบ้านเพื่อให้แน่ใจว่าฉันถึงบ้านอย่างปลอดภัย แต่ฉันไม่ต้องการและรู้สึกไม่ปลอดภัยมากขึ้น แต่พวกเขายืนยันที่จะทำและในที่สุดก็ตามฉันกลับบ้าน”

ขาดการสนับสนุนที่มั่นคง

“หลังจากที่ฉันผ่านประสบการณ์เหล่านั้นมา ฉันก็รู้สึกโดดเดี่ยว” ฟลาวเวอร์ที่เคยผ่านสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหลายครั้ง เธอก็รู้สึกเสียใจที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือด้านจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญเรื่อง PTSD เลย

ต่อมาเกาหลีจึงได้ปรับปรุงระบบเพื่อช่วยเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเรียกร้องให้มีการคุ้มครองผู้เสียหายและการลงโทษที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับเหยื่อชาวต่างชาติเองก็ยังคงทำอะไรไม่ถูกเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้…

“มีองค์กรต่างๆ ที่พร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่ที่เกาหลี แต่พวกเขาไม่มีพนักงานที่พูดภาษาอังกฤษได้ หรือเลือกที่จะช่วยเหลือแค่ผู้หญิงเกาหลีเท่านั้น” 

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

“ณ ตอนนี้ เรามีผู้ที่รับผิดชอบการสอบสวนในทุกแง่มุม แต่ในอนาคตเหยื่อจะต้องได้รับการคุ้มครองเพิ่มเติมผ่านเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถใช้ภาษาและสามารถสื่อสารกับเหยื่อได้ดีขึ้น” จองแจฮยองกล่าว

ในปัจจุบันนี้ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ Danuri มีบริการถึง 13 ภาษา และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลที่หลากหลายรวมถึงวิธีการขอความคุ้มครองและความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดอาชญากรรม

“เราทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของชาวต่างชาติด้วยการร่วมงานกับชุมชนผู้อพยพ มีการบังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มเฝ้าระวังในละแวกใกล้เคียง ในขณะเดียวกันก็สร้างความตระหนักเกี่ยวกับแนวทางความปลอดภัยและทรัพยากรที่มีให้ ในกรณีที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ” 

สิทธิมนุษยชนสากล

ถึงแม้จะยื่นฟ้องได้แล้ว แต่ก็ยังพบปัญหาอยู่อีกค่ะ เพราะเจนนิเฟอร์เล่าว่าเธอได้รับทนายจากรัฐบาล แต่เธอได้เจอเขาเพียงครั้งเดียวในระหว่างการสอบสวนและไม่ได้รับการติดต่อเลยจนกระทั่งการพิจารณาคดี และเธอได้รับข่าวร้ายว่าคดีถูกยกเลิกเนื่องจากขาดหลักฐาน

Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min
Photo Credit: Korea Times photo by Kim Kang-min

“ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการสอบสวนคือการที่เหยื่อมักจะถูกละทิ้งเมื่อพวกเขายื่นฟ้อง คดีในศาลอาญา” ชเวซึงโฮ (Choi Seung-ho) ทนายความในกรุงโซลกล่าว

“ข้อกล่าวหาของเหยื่อเป็นเพียงหลักฐานในศาล แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งนำไปสู่ปัญหาหลายอย่างสำหรับผู้เสียหาย”

แม้ว่าเหยื่อจะยื่นฟ้องต่อศาล กระบวนการทางกฎหมายก็ไม่ได้ง่ายขึ้นเลยค่ะ ยิ่งเมื่อต้องเจอกับอุปสรรคทางภาษาด้วยก็ยิ่งต้องคอยพึ่งพาแต่ล่ามอย่างเดียว

“ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อจากการล่วงละเมิดทางเพศถือเป็นประเด็นพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน” - ชเวซึงโฮ
 

Source:Raped, assaulted, nowhere to find help: Foreign women speak out about their experiences of sexual violence in Korea (https://www.koreatimes.co.kr/www/nation/2022/01/251_322161.html) 
พี่ปลื้ม
พี่ปลื้ม - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด