เมื่อเหล่าออนนี่เขย่าเกาหลีใต้: การขับเคลื่อน 'Girl Power' เพื่อนหญิงพลังหญิงด้วยเรียลลิตี้และทีวีโชว์

สวัสดีค่ะชาว Dek-D หากพูดถึงบทบาทของผู้หญิงในประเทศเกาหลีใต้ หลายๆ คนอาจนึกถึงภาพสังคมแบบผู้ชายเป็นใหญ่อยู่ใช่ไหมคะ แม้ผู้หญิงจะมีบทบาทมากกว่าเดิม แต่เราก็ยังสามารถเห็นความแตกต่างในบทบาทครอบครัวหรือการทำงานที่ยังยึดคติเรื่องเพศอยู่เลย และนั่นก็ทำให้เกิด movement ของกลุ่มเฟมินิสต์ขึ้นมานั่นเอง (และก็ได้รับการต่อต้านจากผู้ชายไม่น้อย TT)  

แต่ทางสื่อต่างๆ ของเกาหลีก็ไม่ได้นิ่งนอนใจนะคะ เพราะในปัจจุบันได้มีการผลักดันผ่านทางคอนเทนต์สื่อโซเชียลรวมถึงในรายการทีวีมากยิ่งขึ้น ซึ่งในวันนี้พี่ปลื้มจะพาทุกคนไปรู้จักรายการทีวีที่มีเหล่าเพื่อนหญิงพลังหญิงซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดัน Girl Power ให้มาอยู่ในแนวหน้าได้ในตอนนี้กันค่ะ Who run the world? GIRLS!

Refund Sisters
Refund Sisters

ก่อนที่จะเริ่มดูรายการ เรามาดูศัพท์เกาหลีคำว่า Ssen Eunni (쎈언니 เซ็น ออนนี่) กันก่อนนะคะ คำนี้หมายถึง 'ผู้หญิงที่มีบุคลิกที่แข็งแกร่ง' ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะจำกัดความให้เฉพาะผู้หญิงที่กล้าทำอะไรแหวกแนวค่ะ เช่นแต่งอายแชโดว์แบบฟาดๆ  ใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด และการด่าแบบไฟแล่บ แต่ในตอนนี้คำจำกัดความ Ssen Eunni “ของจริง” คือผู้หญิงที่มีความสามารถ มีแพชชั่นในการทำงาน และแข่งขันอย่างยุติธรรมมากกว่าที่จะพูดจาหยาบคายใส่คู่แข่งหรือสร้างซีนดราม่าเท่านั้น และยังถือเป็นคนที่สามารถสร้างกำลังใจและภาพลักษณ์ในแง่บวกให้แก่สังคมได้อีกด้วย

หลังจากรู้ความหมายเรียบร้อยแล้ว คราวนี้เรามาดูเหล่า Ssen Eunni ในรายการ TV กันค่าาา

Photo Credit: Courtesy of SBS
Photo Credit: Courtesy of SBS

เริ่มแรกกับรายการแข่งเตะฟุตบอล ปกติต้องมีเหล่าดาราชายลงแข่งเยอะใช่ไหมคะ แต่คดีพลิกค่ะ เพราะ “The Girls Who Hit Goal”   นั้นเป็นรายการสำหรับนักบอลหญิงโดยเฉพาะ แต่ละทีมคือเก่งกาจและไม่กลัวการบาดเจ็บใดๆ และด้วยความสนุกนี้ก็ทำให้รายการได้รับเรตติ้งเป็นอย่างดีจนประกาศมีซีซั่นที่ 2 ตามมาติดๆ เลยค่ะ

โดยทั่วไปแล้วภาพลักษณ์ของผู้หญิงในรายการทีวีหรือซีรีส์ของเกาหลีมักถูกทำให้มองว่าเป็นคนขี้หึง ตีสองหน้าเก่ง ขยันสร้างซีน และเป็นตัวสร้างความขัดแย้งภายในครอบครัวหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เรียกง่ายๆ ก็คือไม่สามารถสร้างจริงใจต่อกันได้เลยค่ะ โดยในเกาหลีจะมีวลีที่ชอบเอามาใช้กันบ่อยๆ คือ “กรรมตามสนองของผู้หญิงก็คือผู้หญิงด้วยกันเอง”  (ประมาณว่าไม่มีใครร้ายเท่าผู้หญิงอีกแล้ว5555)

แต่แนวคิดที่ล้าสมัยพวกนี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วค่ะ อย่างน้อยก็ในหนัง ซีรีส์ และรายการทีวีอื่นๆ ที่ได้ทำลายอคติเหล่านั้นและได้โชว์ให้เห็นว่าผู้หญิงก็สามารถทำงานเป็นทีมได้เหมือนกัน

Photo Credit: MNET
Photo Credit: MNET

อย่างรายการเซอร์ไววัลนักเต้นที่เรตติ้งถล่มทลายสุดๆ อย่าง “Street Woman Fighter” ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว ถึงแม้ในรายการช่วงแรกจะดูเหมือนผู้เข้าแข่งขันพร้อมจะตีกันก็ตาม 55555 แต่สุดท้ายนอกจากแสดงถึงความสามารถในการเต้นแล้ว เราก็ได้เห็นถึงความสนิทสนม ความเคารพระหว่างทีมที่แข่งขันกันท่ามการแข่งขันที่ดุเดือดด้วย // ตอนนี้เหล่าอออนนี่แต่ละทีมก็คืองานชุกไม่ไหว ใครๆ ก็เต้น Hey Mama กันทั้งบ้านทั้งเมืองไปเล้ย 

 

“ดูให้ดีนะจ๊ะ ตอนนี้คือยุคของเหล่าออนนี่แล้วล่ะ!” 

- Honey J. ผู้ชนะจากรายการ SWF

หรืออย่างรายการวาไรตี้อย่าง “Radio Star” ของ MBC ก็ได้นำเสนอเรื่องทีมวอลเลย์บอลหญิงของเกาหลี และทำให้อีพีนี้มีเรตติ้งสูงกว่าปกติ โดยมีผู้ชมจำนวนมากได้แสดงความคิดเห็นว่าพวกเขารู้สึกซึ้งเมื่อได้รู้ว่าผู้เล่นว่าพวกนักกีฬาเขาดูแลกันอย่างไร

 “เมื่อไม่นานมานี้ ฉันรู้สึกเกลียดผู้หญิงที่ฉันเห็นในทีวี” อีซึงฮยอน วัย 35 ปีกล่าว “การแต่งหน้าหนักๆ และวิธีการพูดที่หยาบคายทำให้ฉันรู้สึกว่ามันก้าวร้าวเกินไป”

  “แต่การได้ดูรายการวาไรตี้ในปีนี้ ฉันรู้สึกประทับใจมากกับการทำงานเป็นทีมที่แข็งแกร่งในหมู่ผู้หญิง มันทำให้ฉันรู้สึกว่ามุมมองของสังคม (เกี่ยวกับความสามัคคีของผู้หญิง) กำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้วจริงๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะรายการบันเทิงเท่านั้นนะคะ เพราะในซีรีส์ช่อง tvN เรื่อง “Mine” มีตัวละครนำที่เล่นโดยนักแสดง ‘คิมซอฮยอง’ และ ‘อีโบยอง’ ซึ่งรับบทเป็นพี่สะใภ้ และได้มาเป็นผู้หญิงที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสถานการณ์ที่เลวร้าย

ภาพจากซีรีส์ Mine
ภาพจากซีรีส์ Mine

  เหตุผลที่บทของ Mine ได้รับคำชื่นชมเป็นพิเศษ เพราะปกติในซีรีส์เกาหลีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัว (โดยเฉพาะในครอบครัวคนรวย) จะมีผู้หญิงได้รับบทเป็นคนมีอิทธิพล และจะมีตัวละครหญิงอีกคนที่ต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจภายในครอบครัวซึ่งนับว่าเป็นบทที่ซ้ำซากที่สุดค่ะ 

คุณ Baek Mi-kyung ผู้เขียนบท Mine ได้ให้สัมภาษณ์เสริมว่า “บทที่เขียนนี้เกี่ยวกับความสามัคคีของผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อยืนหยัดต่อสู้กับอคติทางสังคม”

คุณฮาแจกึน (Ha Jae-keun) นักวิจารณ์วัฒนธรรมก็ได้มีความเห็นเกี่ยวกับสื่อที่เปลี่ยนภาพลักษณ์ของผู้หญิงว่าสิ่งเหล่านี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากมีโอกาสได้บทบาทเป็นตัวเอกมากขึ้นในรายการบันเทิงและซีรีส์

“ในอดีต ผู้หญิงเป็นองค์ประกอบรองและส่วนใหญ่ถูกมองว่าเป็นเพียงวัตถุทางเพศ แต่ทุกวันนี้ผู้หญิงก็ได้เป็นตัวเอกของรายการโทรทัศน์เช่นกัน คนรุ่น MZ (คนรุ่นมิลเลนเนียลและเจน Z) จะอ่อนไหวกว่าเมื่อพูดถึงประเด็นเรื่องเพศ และรายการโทรทัศน์ก็สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดในหมู่ผู้ชมหลัก”


References:
https://koreajoongangdaily.joins.com/2021/10/14/entertainment/television/Street-Woman-Fighter-ssenunni-Kim-Yeonkoung/20211014152855507.html https://www.koreatimes.co.kr/www/art/2021/07/688_312090.html https://www.scmp.com/lifestyle/k-pop/k-drama/article/3133890/netflix-k-drama-mine-elegant-and-diverting-drama-fuelled 
พี่ปลื้ม
พี่ปลื้ม - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด