อยากเข้าคณะที่พ่อแม่ไม่ชอบ พูดยังไงไม่แตกหัก

พ่อแม่อยากให้เรียนหมอหรือวิศวะ แต่เราอยากเรียนคณะอื่น ที่ไม่ตรงกับความคาดหวังของทางบ้านเลย…

หนึ่งในปัญหาหนักใจของเด็กไทยหลายคน ที่ต้องแบกรับความคาดหวังจากในครอบครัว ควบคู่ไปกับความฝันของตนเอง จนบางรายต้องยอมทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เพื่อให้เดินหน้าเข้าสู่ขั้นต่อไปของชีวิตได้

แต่การเลือกทิ้งระหว่างความฝันกับความต้องการของครอบครัว ย่อมฝากรอยแผลไว้ในใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วควรทำอย่างไรดี เพื่อที่จะเลือกเรียนคณะในฝันของตัวเองได้ โดยไม่ต้องทะเลาะหรือแตกหักกับพ่อแม่?

พ่อแม่อยากให้เรียน...

ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของนักเรียนไทย โดยเฉพาะตอนมัธยมปลายแล้ว คำถามเรื่องการเรียนต่อมหาวิทยาลัย ก็กลายเป็นประเด็นสำคัญทั้งกับตัวเราเอง และผู้คนรอบข้าง ที่มาทั้งในรูปแบบความห่วงใย ไปจนถึงเชิงโน้มน้าวให้เลือกเส้นทางการศึกษาต่อในอนาคตขึ้นมา

เมื่อเด็กแต่ละคนล้วนมีความชอบไม่เหมือนกัน ความหลากหลายดังกล่าวทำให้เราไม่อาจพยากรณ์ล่วงหน้าได้เลย ว่าเด็กห้องวิทย์ต้องก้าวเดินไปต่อในสายงานวิทย์ หรือเด็กห้องศิลป์ควรเลือกสายคณะด้านศิลป์เพียงอย่างเดียว

แต่น่าเศร้า ที่ค่านิยมของการ “เรียนเป็น...ไปก่อน เพราะเรียนคณะนี้จบไปยังทำอย่างอื่นได้ หากไปเรียนอย่างอื่นแล้วตกงาน จะมาเป็นอาชีพ...ไม่ได้แล้ว” ยังคงมีอยู่ และมักถูกถ่ายทอดมาสู่ความคิดเราอยู่บ่อยครั้งโดยคนในครอบครัว จนแทบเป็นการแนะนำแกมบังคับให้เลือกศึกษาในคณะที่ค่อนข้างมั่นคง และมีสายงานรองรับอยู่เมื่อจบไป เช่น แพทยศาสตร์, นิติศาสตร์, และ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

คือการเลือกเรียนคณะดังกล่าวไม่ผิดเลย หากเรามีความชอบหรือสนใจในเรื่องราวเหล่านี้อยู่แล้ว และต่อให้เราไม่ชอบคณะดังกล่าว ก็ไม่ผิดที่พ่อแม่จะอยากโน้มน้าวให้เราเลือกเรียนในคณะที่ท่านชอบ เพราะด้วยความห่วงใยในเส้นทางอนาคต ควบคู่กับประสบการณ์และความคิดที่ตกตะกอนมาตลอดชีวิตของพวกเขา จนอยากให้เราได้ดิบได้ดีตามที่พ่อแม่วาดฝันไว้นั่นเอง

เช่นกัน หากเราคิดว่าคณะที่ตัดสินใจเลือกมานั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดแล้ว ก็ไม่ผิดที่จะเลือก้าวเดินไปในเส้นทางดังกล่าวอย่างมั่นใจได้ เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อเราเองเป็นคนที่ต้องเรียนอยู่กับสิ่งนี้ไปอีก 3-4 ปี และออกไปใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์ดังกล่าวหลังจากนั้น ก็ควรเป็นตัวเราเองที่ต้องได้ตัดสินใจ และยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามมา

แต่ถ้าพ่อแม่ของเรายังไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ล่ะ จะทำอย่างไรให้เกิดผลดีกับทั้งเราเอง และไม่ทำให้ต้องแตกหักกับที่บ้านได้?

หลักในการคุยกับที่บ้าน

เริ่มแรกเลย คือในมุมมองของผู้ใหญ่บางท่าน เราก็ยังคงเป็นเด็กในสายตาของเขาอยู่ ไม่ว่าเราจะเติบโตขึ้นมาแล้วก็ตาม จนนำไปสู่ความกังวลว่าเราจะตัดสินใจผิดพลาด หรือเลือกอะไรบางอย่างไปโดยยังไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน

มีคำแนะนำจากนักจิตวิทยา ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกของครอบครัวชาวเอเชีย ว่าเราจำเป็นที่จะต้องสร้างความเชื่อใจให้กับพ่อแม่ ผ่านการย้ำในประโยคสนทนาด้วยคำพูดแนว “เชื่อใจเรานะ” “เราทำได้แน่นอน” เพื่อที่เขาจะได้เห็นว่าเราเองก็เติบโตขึ้นมาพร้อมทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามวัยแล้ว

นอกจากผ่านคำพูดแล้ว การสร้างความเชื่อมั่นก็ยังสามารถเกิดขึ้นผ่านการกระทำได้ เช่น หากอยากเข้าคณะนิเทศศาสตร์ ก็อาจลองเข้าค่ายที่เกี่ยวข้องกับสายงานผลิตสื่อ คอนเทนต์บนโลกออนไลน์ หรือเริ่มเปิดช่องทางในโซเชียลมีเดียขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราสามารถทำตัวงานดันกล่าวได้จริง โดยที่มีช่องทางในการต่อยอดและหาเลี้ยงตนเองในภายภาคหน้าได้

หากเป็นไปได้ ทุนการศึกษา จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้พ่อแม่สบายใจขึ้นได้มากโขเลย เพราะมันคือสิ่งการันตีว่าเรามีความสามารถเพียงพอในด้านนี้ พร้อมกับยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือจากที่บ้านก็ตาม

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อย คือการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในครอบครัว คอยบอกให้พ่อแม่ทราบอยู่อย่างต่อเนื่องว่าเราชอบไม่ชอบอะไร สนใจอยากเรียนหรืออยากเติบโตขึ้นไปในรูปแบบไหน หรือก็คือพยายามให้ท่านได้เข้าใจตัวเรา ผ่านทั้งคำพูด ผลงาน และการกระทำอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่าวิธีนี้ ไม่ได้การันตีว่าท่านจะอนุมัติให้เราเลือกเรียนในคณะที่ชอบได้อย่าง 100% สำหรับบางคน ก็อาจต้องมีการพลิกแพลงบางอย่าง หรือปรับกลยุทธ์ให้พอนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างน้อยที่สุด นี่ก็คือวิธีที่เราจะเปิดใจ และเปิดเผยความเป็นตัวเองให้ที่บ้านได้รับรู้ พร้อมกับพยายามสร้างความเชื่อใจให้ผู้ปกครองพอเข้าใจเราได้ โดยไม่ต้องถึงขั้นแตกหักตัดขาดสัมพันธ์กับที่บ้าน และไม่ต้องยอมทิ้งคณะที่ชอบ เพียงเพื่อยอมทำตามความสบายใจของพ่อแม่ไป

หากเรามั่นใจในคณะที่เราเลือก และรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่จะต้องตัดสินใจในอนาคตข้างหน้า ก็จงเชื่อมั่นและลงมือทำในสิ่งเหล่านั้นต่อไป โดยที่คอยสร้างและประคองความมั่นใจให้กับคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ หรือผู้คนที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเรา ว่าการตัดสินใจเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการไตร่ตรองที่ดีแล้ว

 

เพราะในตอนสุดท้าย ก็มีเพียงตัวเราเองนี่แหละ ที่จะต้องใช้ชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าให้ได้ ดังนั้นแล้ว อย่าให้เราในอนาคตต้องมองย้อนกลับมา แล้วเกิดนึกเสียดายที่เราไม่ได้ทำสิ่งที่มั่นใจได้มาก่อน จนพลาดโอกาสดังกล่าวไปตลอดกาลเสียได้…

ดังนั้น หากใครที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่ ก็ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กันดู แล้วอย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์กันด้วยนะ

และถ้าคุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับแบบนี้ แล้วมีวิธีหรือทริคที่เวิร์ค เพื่อใช้ขอเข้าคณะที่ต้องการ ก็อย่าลืมมาแบ่งปันกันในช่องคอมเมนต์ด้านล่างนี้ได้เลยนะ

พี่กร

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

*~ LadyAnna ~* Member 26 ก.ย. 64 16:29 น. 1

เคสแบบนี้การปฏิเสธตรงๆ อาจไม่ work แต่ต้องใช้วิธีลองก่อน แล้วถ้าไม่ใช่ก็แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเราสามารถสร้างความโดดเด่นในตัวเอง ผ่านคณะที่เราเลือกเรียนได้ ต้องพิสูจน์ความสามารถของตัวเองให้พ่อแม่เห็น

ส่วนตัวที่บ้านอยากให้เรียนรัฐศาสตร์ สอบให้แล้ว ติดแล้ว เข้าไปเรียนแล้ว แล้วไม่ชอบ อยากคิดวิเคราะห์ ไม่อยากท่องจำ ไม่ตรงต่อความต้องการ ก็เลยกลับมาเรียนที่ตัวเองสนใจ คือนิเทศ แล้วก็ทำให้พ่อแม่เห็นว่า มันไม่ได้แย่ เรียนจบเกียรตินิยม และจบมาก็หางานทำได้ หา connection ในทางของเรา สร้างประโยชน์ได้

0
กำลังโหลด

3 ความคิดเห็น

*~ LadyAnna ~* Member 26 ก.ย. 64 16:29 น. 1

เคสแบบนี้การปฏิเสธตรงๆ อาจไม่ work แต่ต้องใช้วิธีลองก่อน แล้วถ้าไม่ใช่ก็แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเราสามารถสร้างความโดดเด่นในตัวเอง ผ่านคณะที่เราเลือกเรียนได้ ต้องพิสูจน์ความสามารถของตัวเองให้พ่อแม่เห็น

ส่วนตัวที่บ้านอยากให้เรียนรัฐศาสตร์ สอบให้แล้ว ติดแล้ว เข้าไปเรียนแล้ว แล้วไม่ชอบ อยากคิดวิเคราะห์ ไม่อยากท่องจำ ไม่ตรงต่อความต้องการ ก็เลยกลับมาเรียนที่ตัวเองสนใจ คือนิเทศ แล้วก็ทำให้พ่อแม่เห็นว่า มันไม่ได้แย่ เรียนจบเกียรตินิยม และจบมาก็หางานทำได้ หา connection ในทางของเรา สร้างประโยชน์ได้

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
birdkang Member 31 พ.ค. 65 13:21 น. 3

แล้วในกรณีที่เราอยากเรียนต่อ (อยากเรียนแพทย์ จุฬา ) แต่ที่บ้านอยากให้จบแค่ ม.6 แล้วออกมาทำงาน

ในมุมมองของเรา

1. คะแนนเราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมาก ไม่น่าจะติด แต่ถ้าตาม ม. ต่างจังหวัด เช่น มอ. มช. มข. เรามีโอกาสสูง แต่เราไม่อยากไปไกลบ้าน

2. ถ้าเราไม่ได้ทุนเรียนก็คงไม่มีปัญญาเรียน ลำพังพ่อแม่ส่งเรา ส่งน้องๆ เรียนก็เติมกลืนแล้ว และอย่าบอกว่าเราทำไมไม่ขอทุนโน้นนี่ จากมหาวิทยาลัยที่พวกเขาโมษณาไว้มากมาย เราขอแล้วทุกทุนที่สามารถขอได้ แต่ไม่มีการตอบรับหรือยืนยันแน่นอน ขนาด กยศ. ยังบอกว่าเอาไว้พิจารณาเทอมหน้าว่าจะได้หรือเปล่า ส่วนเรื่องสอบชิงทุนได้ ถึงเราจะได้เกรดเกือบ 4.00 แต่เราคิดว่าความรู้เรายังสู้พวก 2 กว่าๆ ในโรงเรียนดังๆ ไม่ได้ด้วยซ้ำ ดังนั้นอย่าคาดหวัง

3. พวกท่านลำบากมามากแล้ว ในการส่งลูกๆเรียน

4. ซึ่งถ้าเราไม่ได้เรียน ก็จะเกิดวังวนแห่งความเสื่อมโทรมเหมือนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า คือ ทำงาน รับจ้าง ก่อสร้างหรือทำโรงาน แล้วก็แต่งงาน มีลูก ส่งลูกเรียน จบมารับจ้าง แต่งงาน มีลูก วนไป ที่ไม่ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นเลย

ในมุมมองพ่อแม่

1. ถึงจบปริญญา ก็ใช่ว่าจะมีงานทำ บางคน(ผนาญเงิน)จบมาก็กลับมาเกาะพ่อแม่กินต่อ บางคนหนักกว่ากลับมาพร้อมลูกเขย ลูกสะใภ้ มีหลานตามมาอีก บางคนส่งไปเรียนแล้วก็หายสาบสูญไปเลยไม่ติดต่อกลับมา ขาดการติดต่อไปเลย

2. "ถ้าส่งเอ็งเรียน น้องเอ็งก็จะไม่ได้เรียน"

3. "เงินสามร้อยบาทในมือ มีค่ามากกว่าเงินหกล้านบาทในความฝัน" (ไม่ได้ซื้อหวยนาครับ ไม่ต้องเสี่ยงโชด งดดราม่า จะได้ไม่เครียด) เพราะทุกวันนี้ก็เครียดพอแล้ว

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด