เปิดโลกกับสาขาด้าน "ธรณีวิทยา" ที่สายลุย สายผจญภัยห้ามพลาด!!

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D ทุกคน มีน้องๆ คนไหนชอบเรียนวิทยาศาสตร์ ชอบการค้นหาคำตอบ ชอบออกไปสำรวจโลกกว้างกันบ้าง ถ้าใครเป็นเหมือนที่พี่นุกนิกได้บอกไป ขอให้ส่งเสียงดังๆ ให้พี่นุกนิก รู้ทีนะคะ!! เพราะในวันนี้ เราจะได้ไปทำความรู้จักกับสาขาด้าน ธรณีวิทยา ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยไทย  แอบกระซิบว่า แต่ละสาขาก็มีความเหมือนและแตกต่างกันด้วย เราจึงจะไปดูกัน ว่าสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง จะเหมือนหรือต่างยังไง และที่สำคัญมีความสนุกและท้าทายอย่างไรกันบ้าง ไม่รอช้า งั้นเรารีบไปทำความรู้จักและเปิดโลกกว้างกับสาขานี้กันเลยดีกว่า!!

เปิดโลกกับสาขาด้าน "ธรณีวิทยา" ที่สายลุย สายผจญภัยห้ามพลาด!!
เปิดโลกกับสาขาด้าน "ธรณีวิทยา" ที่สายลุย สายผจญภัยห้ามพลาด!!

เปิดโลกกับสาขาด้าน "ธรณีวิทยา" สายลุย-ผจญภัย ห้ามพลาด!!

ในปัจจุบันสาขาธรณีวิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เริ่มเปิดสอนมากขึ้นในประเทศไทย หลังจากที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่แรกที่เปิดสอนสาขาธรณีวิทยาในไทยไป เมื่อปี 2501 และถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่มีความสำคัญต่อชีวิตของพวกเรามากๆ เลยค่ะ  

สาขา ธรณีวิทยา เรียนเกี่ยวกับอะไร  

สาขา ธรณีวิทยา เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วิวัฒนาการโลก การเปลี่ยนแปลงของโลก ธรณีพิบัติภัย ปิโตรเลียม แหล่งแร่อัญมณี และอื่น ๆ รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับโลกและสสารต่างๆ ทั้งในระดับโครงสร้างส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวโลก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีต และนอกจากนั้นยังศึกษารูปแบบวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย จึงเป็นเหตุให้นิสิต/นักศึกษาต้องลงพื้นที่จริงบ่อยๆ  หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า ออก Field นั่นเอง ถ้าน้องๆ คนไหนชื่นชอบการลงพื้นที่จริง สัมผัสประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองร่วมกับเพื่อนๆ และอาจารย์  สาขาธรณีวิทยาก็พร้อมพาน้องๆ ไปลุยกันค่ะ

บรรยากาศการลงพื้นที่จริงของพี่ๆ
บรรยากาศการลงพื้นที่จริงของพี่ๆ 

ความพิเศษอีกอย่าง คือ ถึงแม้สาขาจากบางมหาวิทยาลัย จะดูคล้ายๆ กับสาขาธรณีวิทยา แต่ไม่ได้ใช้ชื่อเดียวกันนะคะ แถมการเรียนก็ยังมีความแตกต่างและมีความน่าสนใจอีกด้วยค่ะ ซึ่งทั้ง 2 สาขาที่จะพูดถึงต่อไปนี้ มีชื่อว่า ภาคพื้นพิภพและเทคโนโลยีธรณีนั่นเองส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร เราไปดูกันต่อเลย

ความแตกต่างระหว่าง ธรณีวิทยา VS ภาคพื้นพิภพ VS เทคโนโลยีธรณี  

สำหรับสาขาที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา ถือได้ว่ามีสาขาที่มีชื่อเรียกและการเรียนที่แตกต่างกัน ถึง 3 สาขาวิชาเลยค่ะ ได้แก่ ธรณีวิทยา  ภาคพื้นพิภพ เทคโนโลยีธรณี ซึ่งแต่ละสาขาวิชาก็มีจุดเด่นหรือเนื้อหาบางอย่างที่แตกต่างกัน งั้นเราไปดูกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละชื่อนั้นจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง  

  • ธรณีวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ภัยพิบัติ หรือสสารต่างๆ เพื่อศึกษาอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวโลก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีต และศึกษารูปแบบวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • ภาคพื้นพิภพ ศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ อันประกอบด้วยบรรยากาศ อุทกภาค ชีวภาคและธรณีภาคของโลก รวมถึงความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เพื่อประเมินสถานภาพทรัพยากรและแนวทางการจัดการลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องเรียนเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา อุทุกอุตุนิยมวิทยาและการควบคุมมลพิษต่างๆ อีกด้วย เราจะเห็นว่าสาขาภาคพื้นพิภพนี้จะศึกษาเรื่องของบรรยากาศและ     น้ำบาดาลอีกด้วย
  • เทคโนโลยีธรณี ศึกษาเกี่ยวกับหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีธรณี ได้แก่ การสำรวจ ค้นหาวิเคราะห์ทำความเข้าใจและสร้างแบบจำลอง พร้อมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน หิน แร่ น้ำใต้ดิน และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำเอาทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่า สาขานี้จะเป็นการเรียนที่เน้นไปที่เครื่องมือที่ใช้สำหรับศึกษาด้านธรณีวิทยานั่นเอง
การทำแล็บ ด้วยการตัดหินให้บางเพื่อนำมาส่องแร่
การทำแล็บ ด้วยการตัดหินให้บางเพื่อนำมาส่องแร่

รูปแบบการเรียนสไตล์ ธรณีวิทยา  

สาขาที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา ส่วนใหญ่จะเรียนทฤษฎีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในห้องเรียนก่อน เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนเฉพาะของสาขา และเพื่อนำสิ่งที่เรียนไปต่อยอดในอนาคต จากนั้นมีการทำแล็บ เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ในสาขาวิชาเชิงลึกมากขึ้น เช่น การศึกษาชนิดหิน ฯ และนอกจากนั้นมีการลงพื้นที่จริงร่วมกับเพื่อนๆ หรืออาจารย์ในสาขา เพื่อทำการศึกษาพื้นที่จริงผ่านประสบการณ์โดยตรงของนิสิต/นักศึกษา เรียกได้ว่า เรียนทั้งทฤษฎีที่เข้มข้นและลงมือทำจริงด้วยประสบการณ์ที่พิเศษจากพื้นที่ศึกษา

เปิดสอนที่ไหนบ้างในไทย

สำหรับน้องๆ ที่สนใจเรียนต่อในสาขานี้ ในประเทศไทยเปิดสอนเกี่ยวกับสาขาธรณีวิทยามีทั้งหมด 6 ที่ ได้แก่

 ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก 

ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

วิทยาศาตรบัณฑิต สาขาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี  

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

บรรยากาศการเรียนที่เน้นลงมือทำจริง!
บรรยากาศการเรียนที่เน้นลงมือทำจริง!

เมื่อเรียนจบแล้ว ทำอาชีพอะไรได้บ้าง

สำหรับอาชีพที่สามารถประกอบอาชีพเมื่อเรียนจบในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา ได้แก่  

  • นักธรณีวิทยา
  • นักอุทกธรณีวิทยา
  • นักธรณีเหมืองแร่
  • นักธรณีฟิสิกส์
  • นักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม
  • อุตุนิยมวิทยา
  • วิศวกรธรณี
  • นักวิชาการด้านธรณีวิทยา
  • หน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น ปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ เหมืองแร่ ก่อสร้างเขื่อน ฐานรากและโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปรึกษา สำรวจ กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมชลประทาน

ปิดท้ายด้วย คำบอกเล่าจากรุ่นพี่ที่เรียนสาขาธรณีวิทยา/ภาคพื้นพิภพตัวจริง  

สำหรับ รุ่นพี่สาขา ธรณีศาสตร์ จาก ม.มหิดล บอกกับเราว่า การเรียนสาขานี้มีทั้งเรื่องที่สนุกและท้าทายมากมาย เต็มไปด้วยประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งการเรียนสาขานี้ทำให้ได้หาคำตอบที่เราสงสัยหรือรู้ที่มาของบางสิ่งบางอย่างของโลกใบนี้ นอกจากนั้นพี่เขายังบอกอีกว่า สิ่งที่ชื่นชอบมากๆ จากการเรียนสาขานี้คือ การได้ออกไปดูโลกกว้างจากการออก Field ส่วนในเรื่องความท้าทาย รุ่นพี่จากสาขา ธรณีศาสตร์ทิ้งท้ายไว้ว่า "เป็นเรื่องที่ยากมากที่ต้องทำสิ่งที่ไปสัมผัสมาให้ออกมาเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะเรื่องพวกนี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ  จึงทำให้ต้องอาศัยประสบการณ์ที่ใช้ในการศึกษาอย่างมาก"

"การลงพื้นที่จริง" จะเป็นสิ่งที่พี่ๆ  ในสาขาชื่นชอบกัน
"การลงพื้นที่จริง" จะเป็นสิ่งที่พี่ๆ  ในสาขาชื่นชอบกัน 

ส่วนรุ่นพี่สาขา ภาคพื้นพิภพ จาก ม.เกษตรศาสตร์ เน้นย้ำให้เราฟังว่า "หลายคนมักเข้าใจว่าที่นี่เป็นธรณีวิทยาเหมือนกันแต่คนละชื่อเฉยๆ ซึ่งที่จริงคือเราเรียนเกี่ยวกับโลกหมดเลย ทั้งธรณีภาค อุทกภาค อากาศภาค ชีวภาค เคมีของดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องเรียนอุตุนิยมวิทยาและการควบคุมมลพิษต่างๆ ด้วย วิชาเฉพาะก็มีให้เลือกหลายสายตามสิ่งที่เรียน โดยส่วนตัวคิดว่าหลากหลายดี ทำให้ได้ความรู้หลายด้านไปประยุกต์ใช้ด้วยกัน" และตัวแทนของรุ่นพี่ยังพูดถึงความสนุกของการได้เรียนสาขานี้ว่าการเรียนสาขานี้พี่เขาชอบที่ได้ออกภาคสนามหรือได้ลงพื้นที่จริง เพราะไม่ต้องนั่งในออฟฟิศนานๆ  นอกจากนั้นพี่เขายังมีสิ่งที่อยากจะแนะนำให้กับน้องๆ ที่สนใจ ว่าน้องๆ ควรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเราให้ดีกันนะคะ เพราะหากอยากหาความรู้อ่านเพิ่มเติม ไม่ค่อยมีหนังสือหรือวิจัยเป็นภาษาไทยเท่าไหร่ รู้แบบนี้แล้ว น้องๆ พร้อมที่จะไปเตรียมตัวกันหรือยังคะ ><

 

สำหรับสาขาธรณีวิทยา รวมทั้งสาขาภาคพื้นพิภพและเทคโนโลยีธรณี ถือเป็นสาขาที่น่าเรียนมากๆ เลยค่ะ แถมเป็นสาขาที่มีความจำเป็นต่อชีวิตของพวกเราด้วย  ถ้าหากน้องๆ ที่อยากเรียนต่อ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและเตรียมความพร้อมกัน

ด้วยนะคะ โชคดีค่ะ ><

ขอบคุณข้อมูลจาก  นักศึกษาสาขาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและนิสิต สาขาภาคพื้นพิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  http://earth.sci.ku.ac.th/https://te.kku.ac.th/?page_id=437https://ka.mahidol.ac.th/th/curriculum-ophouse-gs.phpขอบคุณรูปภาพจาก คุณกันตณัฐ ตระกูลวีระยุทธ และนิสิตจาก สาขาภาคพื้นพิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
พี่นุกนิก
พี่นุกนิก - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

มัณทนา [ถึงวันสิ้นโลกเพราะโควิด] Member 14 ก.ค. 64 19:29 น. 1

สาขาวิชานี้เป็นสาขาวิชาที่เราอยากเรียนค่ะ

เราชอบวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยามาตั้งแต่เด็กๆแล้ว

แต่ตอนเรียนมัธยมปลายไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต


คนที่เรียนสาขานี้จำเป็นต้องว่ายน้ำเป็นกันทุกคนเหรอเปล่าคะ

เราว่ายน้ำไม่เป็นค่ะ

2
Nooknik_uu Member 15 ก.ค. 64 15:19 น. 1-1
สำหรับสาขาด้านธรณีวิทยา ไม่มีข้อกำหนดที่ระบุในหลักสูตรเกี่ยวกับคุณสมบัติที่นิสิต/นักศึกษาต้องว่ายน้ำเป็นทุกคนค่ะ เพียงต้องมีพื้นฐานความรู้จากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนค่ะ
0
กำลังโหลด

3 ความคิดเห็น

มัณทนา [ถึงวันสิ้นโลกเพราะโควิด] Member 14 ก.ค. 64 19:29 น. 1

สาขาวิชานี้เป็นสาขาวิชาที่เราอยากเรียนค่ะ

เราชอบวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยามาตั้งแต่เด็กๆแล้ว

แต่ตอนเรียนมัธยมปลายไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต


คนที่เรียนสาขานี้จำเป็นต้องว่ายน้ำเป็นกันทุกคนเหรอเปล่าคะ

เราว่ายน้ำไม่เป็นค่ะ

2
Nooknik_uu Member 15 ก.ค. 64 15:19 น. 1-1
สำหรับสาขาด้านธรณีวิทยา ไม่มีข้อกำหนดที่ระบุในหลักสูตรเกี่ยวกับคุณสมบัติที่นิสิต/นักศึกษาต้องว่ายน้ำเป็นทุกคนค่ะ เพียงต้องมีพื้นฐานความรู้จากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนค่ะ
0
กำลังโหลด
Nooknik_uu Member 16 ก.ค. 64 09:56 น. 2-1
เบื้องต้นสามารถสมัครได้นะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์รับสมัครต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ แต่สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องคุณสมบัติรอบ Portfolio สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mytcas.com/search/ โดยค้นหาข้อมูลด้วยการใช้ชื่อสาขา จากนั้นเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากแต่ละมหาวิทยาลัยด้วยนะคะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
0
กำลังโหลด
Anonymous 18 ก.ค. 64 20:19 น. 3

สวัสดีครับ

ผมอยากรู้ว่า ปัจจุบันถ้าจบมาสายธรณีวิทยานี้ จะหางานยากไหมครับ แล้วช่วงนี้มีโควิท จะมีผลต่อการออกภาคสนามไหมครับ

ขอบคุณครับ :)

1
Nooknik_uu Member 19 ก.ค. 64 19:38 น. 3-1
สำหรับการหางานในสายธรณีวิทยา ขึ้นอยู่กับแต่ละสายงานค่ะ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่จะต้องดูประกอบ ส่วนช่วงโควิดก็ผลกระทบต่อการออก Field ค่ะ ซึ่งแต่ละมหาลัยจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้รับความรู้ให้ได้มากที่สุดอาจจะใช้รูปแบบโปรแกรมออนไลน์บางตัวให้เสมือนการออก Field จริงค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของแต่ละที่ค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด