Spoil

  • ขี้ลืมเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับวัยรุ่น ถ้าขี้ลืมขนาดจำเรื่องที่ทำเมื่อตอนกลางวันไม่ได้ ก็ถือว่าน่าเป็นห่วง
  • นอนน้อย-เล่นมือถือเยอะ-ขาดวิตามิน B12 ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมองส่วนความจำทำงานผิดปกติ
  • มีงานวิจัยพบว่า ถ้าวาดรูปเล่นไปด้วยระหว่างกำลังท่องจำอะไรบางอย่าง เราจะจำได้ดีขึ้น

เคยกันมั้ย? เล่นมือถืออยู่แล้วแว่บไปหาอะไรกินแปบเดียว กลับมาอีกที อ้าว...เมื่อกี้วางมือถือไว้ไหนนะ ลืม! หรือไม่ก็เดินเข้ามาในห้องนอนแล้วงง เพราะลืมว่าจะเข้ามาเอาอะไร! เฮ้อ...อาการแบบนี้ถ้าเพื่อนรู้ต้องโดนล้อว่า “ขี้ลืมเหมือนคนแก่” แน่ๆ ทั้งที่เรายังเป็นวัยรุ่นอยู่เลยนะ! แต่รู้ไหม พี่กวางมีความลับจะบอกว่า จริงๆ วัยรุ่นก็ขี้ลืมได้ ใครที่อยากรู้ว่า ทำไมเป็นวัยรุ่นแท้ๆ แต่ขี้ลืม? ก็มาตามไปหาคำตอบด้วยกันได้เลย 

ภาพจาก unsplash.com
ภาพจาก unsplash.com

อย่างที่บอกไปค่ะ ว่าจริงๆ แล้ว “อาการขี้หลงขี้ลืม” นั้นเป็นกันได้ทุกคน แต่สำหรับใครที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่เลย แต่พอตกเย็นมาก็แทบนึกไม่ออกแล้วว่าเมื่อกลางวันทำอะไรไปบ้าง หรือไม่ก็ชอบหลงๆ ลืมๆ ชื่อคนหรือสถานที่ต่างๆ อยู่เสมอ แบบนี้ก็เสี่ยงว่าจะมี อาการสูญเสียความทรงจำระยะสั้น หรือ Short-Term Memory Loss

อาการประมาณไหน? ที่วัยรุ่นต้องระวัง

  • ชอบถามคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ
  • ลืมเรื่องที่เพิ่งทำไป หรือข้อมูลที่เพิ่งเจอไป
  • เรื่องที่เพิ่งพูดไปเมื่อกี้ ก็ลืม
  • มักลืมว่าวางของไว้ที่ไหน
  • สอบตกเป็นประจำ เพราะลืมเนื้อหาที่เรียนมา

อาการเหล่านี้ที่ว่าไป หากเป็นนิดๆ หน่อยๆ อาจจะพอมองผ่านได้ แต่หากเป็นหนักจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือส่งผลต่อความสามารถด้านการเรียน กิจกรรมที่ทำอยู่ ก็ควรมองหาสาเหตุเพื่อแก้ไขค่ะ 

และนี่ก็คือสาเหตุที่เป็นไปได้ สำหรับภาวะขี้หลงขี้ลืมในวัยรุ่น

1. สมองมีการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ

สมองของแต่ละคนมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน บางคนสมองไว สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้แม่นยำ แต่บางคนก็ต้องให้เวลาสมองสักหน่อยในการจดจำหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งประสิทธิภาพของสมองนี่แหละ ที่อาจเป็นสาเหตุให้ขี้หลงขี้ลืมได้ด้วย

วิธีสังเกตว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มเรียนรู้ช้าหรือไม่ คือลองสำรวจว่าตัวเองสมาธิสั้น, ไม่ค่อยมีจินตนาการ, อธิบายความรู้สึกของตนเองออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ และเข้าสังคมไม่เก่งด้วยหรือเปล่า แต่สำหรับใครที่พบว่าตัวเองเป็นคนเรียนรู้ช้าก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะนั่นหมายถึงเราแค่ต้องการเวลามากกว่าคนอื่นนิดหน่อยในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เท่านั้น หากได้รับการสอนอย่างถูกวิธี และได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณครูและผู้ปกครอง ปัญหาเรื่องนี้ของเราก็จะค่อยๆ ดีขึ้นได้ค่ะ

2. การใช้ยาบางชนิด

ยารักษาโรคบางชนิดก็ส่งผลต่อความจำของเราได้ เช่น ยารักษาความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาระงับประสาท เพราะยาเหล่านี้จะเข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง ทำให้ไม่มีสมาธิ และจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ยากขึ้น

3. ขาดวิตามิน B12

มีการศึกษาเรื่องนี้โดยการนำเด็กอายุ 5-12 ปีจำนวน 3,156 คนมาทดสอบว่าการขาดวิตามิน B12 ส่งผลกระทบต่อการเรียนและการเข้าเรียนของเด็กๆ หรือไม่ ปรากฎว่าเด็กกลุ่มที่ขาดวิตามิน B12 มีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางประสาทปริชาน (neurocognitive disorders) การขาดวิตามินจึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นมีความจำแย่ลง นอกจากนี้การขาดวิตามิน B12 ยังทำให้อิดโรย แขนขาชา โลหิตจาง และลิ้นมีการรับรสที่ผิดเพี้ยนได้ด้วย

4. การใช้สารเสพติด

มีการศึกษาพบว่า สารเสพติด ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้ความจำแย่ลง 

ภาพจาก unsplash.com
ภาพจาก unsplash.com

5. ความเครียดและความกังวล

สมองของเรามีส่วนที่เรียกว่าอะมิกดาลา (amygdala) และฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความรู้สึกและเก็บสะสมไว้เป็นความทรงจำ และยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้วย มีการศึกษาพบว่าถ้าวัยเด็กของใครมีความเครียดและความกังวลสูง จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมองส่วนอะมิกดาลาและฮิปโปแคมปัส ทำให้ขี้หลงขี้ลืมได้ในช่วงวัยรุ่น

6. ใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป

เรื่องนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมากค่ะ แต่จากการศึกษาที่มีอยู่ก็พอจะบ่งชี้ได้ว่าการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นเวลาติดต่อกันนานเกินไป สามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองในวัยรุ่นได้

7. ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนฃ

เมื่อศีรษะถูกกระแทกอย่างรุนแรง ก็อาจเป็นสาเหตุให้มีช่วงเวลาสั้นๆ ที่ความทรงจำบางส่วนจะหายไปได้ค่ะ และอาจจะมาพร้อมอาการอื่นๆ ด้วย เช่น ปวดหัว มึนหัว สมาธิสั้น หมดสติ และคลื่นไส้อาเจียน

8. ขาดการพักผ่อน

เรื่องนี้ถูกศึกษาทั้งในมนุษย์และในสัตว์เลยค่ะ ว่าการนอนนั้นช่วยได้มากในด้านพัฒนาความจำ การอดนอนจะไปทำลายการส่งสัญญาณของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ทำให้ความจำค่อยๆ แย่ลง ทำให้วัยรุ่นที่นอนน้อยจะความจำไม่ค่อยดี นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ง่วง อิดโรย อารมณ์ไม่คงที่ อยากอาหารมากกว่าปกติ และไม่ค่อยมีสมาธิ

9. โรคซึมเศร้า

มีการศึกษาการทำงานของระบบประสาทในผู้ใหญ่ที่มีอาการซึมเศร้า พบความเกี่ยวข้องระหว่างโรคซึมเศร้า และความบกพร่องของระบบจัดการในสมอง ความทรงจำ และสมาธิ ซึ่งแน่นอนว่าวัยรุ่นเองก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่ะ จากปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเคมีประสาทในสมองที่ทำงานผิดปกติ ความเครียดในชีวิตประจำวัน การใช้สารเสพติด หรือแม้แต่ในเด็กผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือน

ภาพจาก unsplash.com
ภาพจาก unsplash.com

 แล้วถ้าไม่อยากเป็นวัยรุ่นขี้หลงขี้ลืมจนถูกแม่บ่นแถมยังถูกเพื่อนล้อ เราต้องทำอย่างไร? นี่เป็นวิธีเพิ่มความสามารถของสมองง่ายๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ลองทำได้ที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือในชีวิตประจำวันก็ได้ค่ะ 

เคี้ยวหมากฝรั่ง

แปลกๆ ใช่มั้ยคะ แต่มีการวิจัยในเด็กนักเรียนประเทศเยอรมีพบว่า การให้เด็กๆ เคี้ยวหมากฝรั่งนั้นมีส่วนช่วยให้นักเรียนได้คะแนนสอบสูงขึ้น! และยังมีอีกงานวิจัยโดยนักศึกษาทันตแพทย์ในนิวยอร์ค พบว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นสามารถช่วยให้คะแนนสอบวิชาข้อเขียนดีขึ้นได้จริงๆ แต่ไม่ช่วยในการสอบแบบปฏิบัติ สาเหตุก็เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยกระตุ้นให้เราตื่นตัวและมีสมาธิได้มากขึ้นค่ะ

ทำสมาธิหรือเล่นโยคะ

มีงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Physical Education and Sport พบว่าการเล่นโยคะ หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้สมาธิสูงๆ นั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมองด้านความจำ และยังทำให้วัยรุ่นหลายๆ คนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และยังช่วยให้มีสมาธิสูง รวมถึงคลายความเครียดได้อีกด้วย

ใช้ฟอนต์อ่านยากๆ ในการท่องหนังสือ

สำหรับใครที่มีปัญหาอ่านหนังสือแล้วจำยากจำเย็น ก็มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าให้ลองเปลี่ยนฟอนต์ตัวหนังสือใหม่ ให้เป็นตัวหนังสือที่อ่านยากๆ การทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มสมาธิในการอ่าน และทำให้เราจดจำได้ดีขึ้นค่ะ

วาดรูปเล่นระหว่างอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือไป วาดรูปเล่นไป ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะมองว่าเราไม่ตั้งใจอ่านเอาซะเลย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีงานวิจัยที่พบว่า การวาดรูปเล่นนี่แหละทำให้สมองของเรามีสมาธิ และเรียกความทรงจำของข้อมูลที่อ่านได้ดีขึ้น และยังช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เราก็ต้องวาดรูปเล่นแค่พอเหมาะนะคะ ไม่ใช่วาดตลอดเวลา อันนั้นก็ไม่ช่วยค่ะ

หัวเราะเยอะๆ

Dr.Mark Reeves นายแพทย์จาก Loma Linda Health University รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ความเครียดจะไปเพิ่มระดับให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งสามารถเข้าไปทำลายเซลส์ประสาทด้านการเรียนรู้ การหัวเราะและมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้ และยังช่วยให้มีความจำที่ดีขึ้นด้วย

ภาพจาก unsplash.com
ภาพจาก unsplash.com

 แต่ทั้งนี้ ต้องย้ำอีกทีว่าหากอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับที่หนัก จนส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างหรือชีวิตประจำวันของน้องๆ เอง ก็ควรเข้าพบเพื่อปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญนะคะ

ส่วนวัยรุ่นชาว Dek-D คนไหน ที่ช่วงนี้ขี้หลงขี้ลืมไปบ้าง ก็ลองสำรวจตัวเองว่ามีคุณสมบัติตามที่ผู้เชี่ยวชาญเขาว่ามารึเปล่า และอย่าลืมรีบแก้ไขกันนะคะ ส่วนใครเคยลืมเรื่องอะไรแบบพีคๆ บ้าง มาเล่ากันขำๆ ได้เลยนะ

 

 

ข้อมูลจากhttps://www.momjunction.com//
พี่กวาง
พี่กวาง - Columnist พลเมืองบางบัวทอง ผู้ตามทันทุกเทรนด์ฮิต เพราะไถทวิตเตอร์ระหว่างรถติดแยกแคราย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

6 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด