อย่าละเลยลิขสิทธิ์! รู้จัก ‘Plagiarism’ การโจรกรรมทางงานเขียน (+เขียนแบบไหนไม่เข้าข่ายก็อปงานคนอื่น?)

สวัสดีค่ะชาว Dek-D ไหนใครกำลังเขียนรายงานหรือทำวิจัยอยู่บ้างยกมือขึ้น! เชื่อว่าทุกคนคงเคยหาข้อมูลจากเว็บไซต์, เพจ, หนังสือ, วารสาร หรือแหล่งค้นคว้าอื่นๆ เพื่อนำมาประกอบในรายงานหรือโครงงานเราใช่มั้ยล่ะคะ? ซึ่งทุกครั้งอาจารย์ก็มักจะย้ำประมาณว่า ‘อย่าลืมเช็ก plagiarism นะ’ หรือไม่ก็ ‘ระวัง plagiarism ด้วยนะ ไม่งั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานอื่น’

ว่าแต่ plagiarism คืออะไร? ซีเรียสแค่ไหน? พี่มายมิ้นท์จะพาไปรู้จักคำนี้กันค่ะ รับรองสาระจัดเต็ม!

............

มารู้จักความหมายกันก่อน

Photo  credit:  www.unsplash.com
Photo  credit:  www.unsplash.com

จากข้อมูลของ University of Oxford คำว่า Plagiarism คือการนำผลงานหรือไอเดียของคนอื่นมาใส่ไว้ในงานของตัวเอง โดยที่ไม่มีการรับรองใดๆ อย่างถูกต้องจากเจ้าของผลงาน ไม่ว่าสิ่งที่คัดลอกมาจะปรากฎอยู่ในงานที่เผยแพร่แล้วหรือยังไม่เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ อยู่ในรูปแบบลายมือ เอกสารที่ตีพิมพ์ หรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม เหล่านี้จะจัดเป็น plagiarism ทั้งหมดเลยค่ะ 

Note: Plagiarism เป็นคำนาม แต่ถ้าต้องการทำให้เป็นคำกริยาภาษาอังกฤษจะใช้ Plagiarize (US) / Plagiarise (UK) ระวังอย่าสับสนนะคะ ^ ^

Plagiarism = ผิดกฎหมายนะรู้ยัง?

การตั้งใจให้เกิด plagiarism ถือว่า ‘ผิดกฎหมาย’ และถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สำหรับกรณีที่ตรวจสอบแล้วว่าเกิด plagiarism แบบไม่ตั้งใจหรือเกิดเพราะความไม่ระวัง ก็จะถือเป็นความผิดทางวินัยด้วย ซึ่งในต่างประเทศเค้าซีเรียสเรื่องลิขสิทธิ์มากๆ หากตรวจพบการ plagiarism ปุ๊บสามารถฟ้องร้องให้มีการตรวจสอบปั๊บ ซึ่งถ้าพบว่าเป็นการกระทำโดยเจตนา ทางเจ้าของผลงานก็เตรียมรับคำขอโทษเป็นเงินได้เลย 

(อย่างในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบุไว้ว่า “ผลงานของปัจเจกบุคคลใดก็ตาม จะได้รับการวินิจฉัยให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยทันทีภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ หากมันได้ฝากความคิด-จิตใจของบุคคลนั้นเอาไว้ และได้ถูกกำหนดในรูปลักษณ์ทางกายภาพบางอย่างเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม, ผลงานทางดนตรีที่ถูกเขียนลงในกระดาษ, หรือแผนผังทางสถาปัตยกรรมก็ตามในรูปของกายภาพ ตราบเท่าที่มันเป็นผลงานริเริ่มสร้างสรรค์ชิ้นหนึ่ง มันจะได้รับลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติแก่คนๆนั้น")

ดังนั้นหากพิสูจน์ได้ว่ามีการลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำโดยที่ไม่มีการรับรองจากเจ้าของผลงานอย่างถูกต้อง ก็จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในภายหลังค่ะ

............

จดไว้เลย! 
เทคนิคเลี่ยง Plagiarism ฉบับมือโปร
 

หลักๆ นิสิตนักศึกษาก็มักจะได้ยินคำว่า Plagiarism ในวิชาที่เกี่ยวกับงานวิจัย เพราะต้องอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ด้วย แต่บางคนจะสงสัยว่าแล้วแบบนี้ไม่ใช่การ Plagiarism เหรอ?  คำตอบคือจริงๆ แล้วเราสามารถ ‘อ้างอิง’ ข้อมูลจากแหล่งอื่นมาใช้ในงานเขียนได้นะคะ แต่ต้องเขียนให้ถูกหลักการ ดังนั้นพี่เลยขอสรุปตัวอย่างวิธีที่น่าสนใจมาฝากน้องๆ กันค่ะ  

1.ไม่ว่าภาษาอะไรก็ต้อง ‘Paraphrase’

Photot  credit: www.unsplash.com
Photot  credit: www.unsplash.com

คำนี้นักศึกษาเอกอังกฤษคุ้นเคยแน่นอน คำว่า Paraphrase คือการนำข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในสไตล์ของเราเอง แต่จะคงคอนเซ็ปต์หรือคีย์เวิร์ดสำคัญของเนื้อความเอาไว้ และแม้ต้นทางจะเป็นภาษาต่างประเทศก็ควรนำมา Paraphrase ก่อนเสมอค่ะ // นอกจากใช้กับวิจัยแล้ว ยังใช้ในการสอบวัดวัดระดับภาษาอังกฤษ การเขียนเรียงความ การเขียนข่าว และอีกมากมายเลย 

(แอบกระซิบว่าตอนพี่มายมิ้นท์เรียนในวิชาวิจัยเนี่ย อาจารย์ผู้สอนเข้มงวดมากกกก แบบห้ามมีคำที่เรียงติดกันซ้ำเกิน 3 คำ ถ้ามีก็เขียนใหม่สถานเดียว TT)

ตัวอย่างการ paraphrase 
(อ้างอิง: www.oxbridge.in.th)

  • Paraphrase โดยการใช้ synonyms (คำพ้องความหมาย) มาแทนที่ข้อมูลต้นฉบับ โดยที่ใจความยังเหมือนเดิม

Original: The number of teachers increased sharply. 

Paraphrase: The proportion of lecturers grew significantly.

  • Paraphrase โดยการเปลี่ยน voice

Original (active voice) “We cannot overlook the drawbacks to studying abroad.” 

Paraphrase (passive voice) “The drawbacks to studying abroad cannot be overlooked.    

  • Paraphrase โดยการเปลี่ยน voice 

Original (active voice) “We cannot overlook the drawbacks to studying abroad.” 

Paraphrase (passive voice) “The drawbacks to studying abroad cannot be overlooked.  

ลิงก์ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

2. ไม่อยากเปลี่ยนคำ? 
ใช้ Quotation ช่วยได้!

Photot  credit: www.unsplash.com
Photot  credit: www.unsplash.com

การอ้างอิงข้อมูลมาเขียนงานบางครั้งก็ไม่สามารถเปลี่ยนคำต้นฉบับได้ เพราะอาจจะส่งผลถึงความหมายและทำให้คนอ่านเข้าใจผิด อย่างเช่นทฤษฎีเฉพาะหรือคำพูดของเจ้าของข้อมูล แล้วจะทำยังไงล่ะ? ถ้า paraphrase ไม่ได้ก็ต้องลอกมาแล้วก็จะกลายเป็น plagiarism น่ะสิ จริงๆ มีอยู่วิธีนึงที่นิยมใช้แก้ปัญหาเคสแบบนี้ค่ะ เรียกว่า “Quotation” เรามักจะคุ้นตากับสัญลักษณ์เครื่องหมายคำพูด “ ” แบบนี้ในกรณีที่มีการโควตคำพูดของคนอื่นมา 

แน่นอนว่าจริงๆ ก็มาจากวิธี quotation ในงานเขียนนี่แหละ โดยเราจะใช้วิธีนี้ในการนำคำพูดของคนอื่นหรือข้อมูลจากต้นทางมาแบบเป๊ะๆ ไม่ตัดออก ไม่เรียบเรียงใหม่ใดๆ เพื่อไม่ให้ผิดความหมาย ซึ่งก็มีหลายรูปแบบ เช่น

Direct Quotation (Reporting verbs + Quotation mark )

  • Reporting verbs/phrases: say, write, declare, insist, state, claim, suggest, according to เป็นต้น

ตัวอย่าง:

One instructor states, “It is difficult to learn a language without understanding grammar.” 

  • กรณีใช้ according to ต้องตามด้วยแหล่งข้อมูลอ้างอิง (n.) 

ตัวอย่าง:

According to the language center, “learning a language without understanding grammar is impossible.” 

Indirect Quotation (Reporting verbs + เปลี่ยนเป็น past tense)

  • เปลี่ยน present simple เป็น past simple

ตัวอย่าง:

Direct quote: Marry said, “ The exam starts at nine o’clock.”

Indirect quote: Marry said (that) the exam started at nine o’clock.

  • เปลี่ยน past simple และ present perfect เป็น past perfect 

ตัวอย่าง:

Past simple: He said, “We didn’t have time to finish the task.”

Past Perfect: He said (that) they hadn’t had time to finish the task.

ลิงก์ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ยกข้อมูลมาอ้างอิงอย่าลืมเขียน Citation ด้วยนะ

การเขียนบรรณานุกรม (citation) ในแวดวงวิชาการจะมีหลายแบบ และยังแตกต่างตามรูปแบบแหล่งข้อมูลที่เรานำมาเขียนด้วย โดยผู้ที่สร้างหลักการเขียน citation ขึ้นมักจะเป็นสถาบันทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำนั่นเองค่ะ  

Citation style มีอยู่หลักๆ 4 แบบ ได้แก่

Citation Style

ที่มา

สาขาวิชาที่ใช้

APA style

American Psychological Association

การศึกษา จิตวิทยา  และวิทยาศาสตร์

MLA style

 Modern Language Association

มนุษยศาสตร์

Chicago   style

University of Chicago Press

ธุรกิจ ประวัติศาสตร์ และศิลปะ

IEEE style

Institute of Electrical and Electronics Engineers, Inc.

วิศวกรรมศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

*ทั้งนี้ สไตล์การเขียนอาจไม่ได้ตายตัว (เช่น ไม่จำเป็นว่างานวิจัยด้านภาษาแล้วจะต้องใช้แบบ MLA เสมอไป) ขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาและมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ สามารถเข้าไปศึกษาวิธีเขียน citation ทั้ง 4 แบบได้จากเว็บไซต์ของ University of Pittburgh นะคะ

In-text citation สิ่งที่สำคัญที่ ‘ห้ามลืม’

Photot  credit: www.unsplash.com
Photot  credit: www.unsplash.com

เมื่อเรา paraphrase และ quatation แล้ว สิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาดคือการเขียนอ้างอิงแหล่งที่มา นอกจากจะเป็นการให้เครดิตเจ้าของข้อมูลแล้ว ยังทำให้งานเราดูน่าเชื่อถือขึ้น แถมคนอ่านยังตามไปศึกษาหัวข้อนั้นๆ เพิ่มเติมจากต้นทางที่เราเขียนอ้างอิงไว้ได้ด้วยค่ะ

In-text citation = การอ้างอิงแทรกลงในเนื้อความท่อนนั้นที่เราเอาอ้างอิงมาจากงานคนอื่นนั่นเองค่ะ *แม้เราจะเขียนในบรรณานุกรมแล้วก็ต้องมีส่วนนี้ด้วย ไม่งั้นจะถือเป็น Plagiarism นะคะ

Ex. APA style (แหล่งข้อมูล: หนังสือตีพิมพ์)

Citation

 ผู้แต่ง 1./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Sapolsky, R. M. (2017). Behave: The biology of humans at our best and worst. Penguin Books.

In-text citation

(นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) 

ตัวอย่าง

(Sapolsky, 2017).

Citation

นามสกุลผู้แต่ง, ชื่อ. “ชื่อหัวข้อ.” ชื่อหนังสือ, สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์, ปีที่พิมพ์, หน้า.

ตัวอย่าง

Card, Claudia. The Atrocity Paradigm: A Theory of Evil. Oxford UP, 2005, pp. 178.

In-text citation

(นามสกุลผู้แต่ง, หน้า)

ตัวอย่าง

(Card, 178)

ที่จริงแล้วการทั้งการเขียน citation และ in-text citation ยังมีรายละเอียดอีกเยอะมากกกก น้องๆ สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ลิงก์นี้ และจากคลิปช่อง Scibbr  ได้เลยค่ะ 

............

รวมมาให้แล้ว!  
เว็บไซต์เช็ก  Plagiarism  แบบฟรีๆ

จริงๆ แล้วเราสามารถเช็ก  plagiarism  ได้แบบง่ายๆ แค่อัปโหลดงานของเราหรือ copy  เนื้อความของเราไปวางบนเว็บไซต์  ซึ่งพี่มายมิ้นท์ก็ได้รวบรวมมาให้ทุกคนแล้วค่ะ และที่สำคัญคือ  'ฟรี' ด้วยนะ//แต่บางเว็บไซต์ถ้าต้องการเช็กแบบละเอียดมากๆ  ก็อาจจะต้องจ่ายสมัครแบบพรีเมียมนะคะ 

  1. www.grammarly.com
  2. www.smallseotools.com
  3. www.turnitin.com
  4. www.bibme.org
  5. www.searchenginereports.net

จริงๆ แล้วการลอกเลียน ดัดแปลง หรือทำซ้ำไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับงานเขียนเท่านั้น แต่พบได้ในผลงานครีเอทีฟทุกรูปแบบ เช่น รูปวาด เพลง หนัง โฆษณา ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และอีกเยอะมาก ซึ่งตอนนี้ในโลกออนไลน์เองก็หันมาให้ความสนใจและช่วยกันเป็นหูเป็นตาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์กันมากขึ้นแล้วค่ะ 

Photo  credit:  www.unsplash.com
Photo  credit:  www.unsplash.com

พี่มายมิ้นท์เองได้อ่านเรื่องราวเบื้องหลังของเจ้าของผลงานที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดลิขสิทธิ์ จะบอกว่ากว่าจะได้ผลงานออกมาต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และเวลาไปไม่น้อยเลยค่ะ พอเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็บั่นทอนจิตใจ จนบางคนเลิกผลิตผลงานไปเลยก็มี ดังนั้นทุกคนจึงควรหันมาตระหนัก ทั้งไม่ละเมิดเอง แล้วช่วยกันส่งเสริมผลงานที่ถูกลิขสิทธิ์เพื่อให้สังคมน่าอยู่ขึ้นกันนะคะ ^^

 

Sources:https://auis.edu.krd/quotations-and-paraphrasing https://www.youtube.com/watch?v=hhD4xaGAcR https://www.grammarly.com/plagiarism-checker https://www.scribbr.com/citing-sources/apa-vs-mlahttps://smallseotools.com/plagiarism-checker/ https://www.turnitin.com/products/similarity https://www.bibme.org/grammar-and-plagiarism/ https://searchenginereports.net/plagiarism-checker https://www.oxbridge.in.th/ielts-general-tips https://unsplash.com/photos/jJT2r2n7lYA https://unsplash.com/s/photos/researchhttps://unsplash.com/photos/s9CC2SKySJMhttps://unsplash.com/photos/o0Qqw21-0NI
พี่มายมิ้นท์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น