เปิดรั้วโรงเรียนเกาหลี: ทำไมถึงมีประเด็นการกลั่นแกล้ง(왕따)เกิดขึ้นบ่อยครั้ง?

อันยองครับน้องๆ ชาว Dek-D ทุกคน เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมที่เกาหลีใต้ถึงเกิดปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bullying) บ่อยจนหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ทั้งพบบ่อยตามข่าวหรือแม้แต่ในซีรีส์ก็มักมีฉากการรังแกให้เห็น จนหลายคนรู้สึกว่านี่แหละคือสังคมในโรงเรียนเกาหลีของจริง! 

เล่าก่อนว่า ‘การกลั่นแกล้ง’ ที่ว่านี้คือปัญหาเรื้อรังที่ฝังรากลึกในสังคมเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่ความรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่นที่เห็นตามข่าวก็มักเกิดขึ้นในรั้วโรงเรียน (School Bullying) นอกจากภาพที่เราเห็นตามซีรีส์แล้ว ในชีวิตจริงเองก็มีผลสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการเกาหลีที่บอกว่า 1 ใน 10 ของนักเรียนที่เป็นเหยื่อนั้นถูกกลั่นแกล้งโดยเพื่อนร่วมห้อง ความรุนแรงก็มีตั้งแต่ด่าทอ ไถเงิน ทำลายของใช้ส่วนตัว จนถึงทำร้ายร่างกาย บางเคสผู้กระทำก็เจตนาให้ถึงชีวิตเลยก็มี ทำให้เหยื่อมองสถานที่นี้เป็นฝันร้าย และบางคนถึงขั้นยอมจบชีวิตตัวเอง

Photo  Credit:  Biaswrecker.com
Photo  Credit:  Biaswrecker.com

เมื่อลองย้อนไปดูที่ต้นตอของปัญหาจะพบว่า ส่วนหนึ่งก็เกิดจากพื้นฐานแนวคิดทางสังคมแบบ ‘ชาตินิยม’ ที่หล่อหลอมให้คนชอบการแข่งขันและพยายามทำให้คนอื่นดูด้อยกว่า อีกทั้งยังไม่ชอบและไม่เห็นด้วยกับคนที่ทำตัวแตกต่าง ถ้าใครดูซีรีส์เจอฉากนี้จะสังเกตว่าคนที่โดนรังแกมักจะมีความคิดไม่เหมือนใคร หรืออาจมีของและโดดเด่นจนบางคนรู้สึกไม่ชอบใจก็ได้

นอกจากนี้คนที่มีโลกส่วนตัวสูง ไม่สุงสิงกับใครก็ตกเป็นเป้าด้วยเช่นกันครับ ถึงจะไม่ใช้ความรุนแรงโดยตรงแต่ก็จะแอบถูกกลั่นแกล้งแบบเงียบๆ เช่น ถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว มองด้วยสายตาแบบเหยียดๆ ไม่มีใครรับเข้ากลุ่มแม้จะพยายามเข้าหาก็จะถูกกีดกัน ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะถูกมองว่าแปลกและถูกเมินจากคนรอบข้าง ในเกาหลีจะเรียกพฤติกรรมนี้ว่า ‘วังตา’ (왕따) กลุ่มคนเลือกปฎิบัติโดยใช้การเรียน ความสามารถ ทัศนคติ หรือรูปลักษณ์​ภายนอกเป็นตัวตัดสิน ถึงบางคนลึกๆ อาจอยากคุยแทบใจจะขาด แต่ก็ไม่กล้าเพราะกลัวจะโดนเหมารวมเลยเลือกที่จะเพิกเฉยดีกว่า 

อย่างเรื่องราวของซอนอีจอง (Son Yi Jeong) สาวชาวเกาหลีที่ออกมาให้สัมภาษณ์ปมชีวิตสมัยมัธยมเมื่อ 8 ปีก่อน ถึงเวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่เธอก็ไม่ลืมช่วงเวลาที่แสนเลวร้ายนั้นได้เลย

Asian Boss / Youtube
Asian Boss / Youtube

เรื่องราวเกิดหลังจากที่อีจองรู้ว่าตัวเองนั้นชอบเพศเดียวกัน เธอสับสนและกังวลเป็นอย่างมาก ทางเลือกเดียวที่จะปิดความลับนี้เอาไว้ได้คือ การระบายกับคนที่มีปัญหาเหมือนกันในโลกออนไลน์ ทำให้เธอเหมือนมีเพื่อนใหม่ได้เล่าและแชร์ประสบการณ์ของตัวเองจนรู้สึกดีขึ้น

แต่สุดท้ายความสบายใจของอีจองก็ต้องหายไป เพราะเพื่อนในห้องดันแอบเห็นแชทที่เธอไปปรึกษาเรื่องราวของตัวเอง เป็นเหตุที่ทำให้คนในห้องเริ่มไม่คุยกับเธอ รวมไปถึง ‘เพื่อนสนิท’ ของเธอด้วย ส่วนเพื่อนคนอื่นๆ ก็เริ่มรวมหัวกันกลั่นแกล้งด้วยการนัดเปลี่ยนสเตตัสในแอปฯ คาคาโอทอล์ก (Kakao Talk) เป็นถ้อยคำรุนแรงสารพัด เช่น ทำตัวสกปรก! เธอมันน่ารังเกียจ! ทำไมไม่ตายไปซักที!

จากนั้นเธอก็กลายเป็นที่หมายหัวของทุกคน อย่างตอนที่เธอออกไปทานข้าวที่โรงอาหารก็จะมีเสียงตะโกนว่า ‘ตัวน่ารังเกียจ’ ตลอดเวลาถึงขั้นที่ต้องแอบไปดื่มนมเงียบๆ คนเดียวในห้องเรียน หลายครั้งที่เธอเคยตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง แต่ในใจก็ยังคิดได้ว่าชีวิตนั้นมันมีค่าจึงได้กัดฟันสู้จนเรียนจบ และเริ่มต้นชีวิตใหม่พยามเก็บเรื่องเลวร้ายไว้ในใจไม่ให้ใครรู้  

..................................

พูดถึงการกลั่นแกล้งในซีรีส์เกาหลีกันบ้าง อย่างเรื่อง “Who are You School 2015” ก็เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่สะท้อนให้เห็นสังคมโรงเรียนเกาหลีอย่างชัดเจน  

ฉากนี้ ‘อึนบี’ นักเรียนหญิงมัธยม ถูกแก๊งเพื่อนในห้องจับตัวมาเทแป้ง + ปาไข่ใส่หัว + ราดน้ำหมัก เพื่อฉลองวันเกิดให้กับ ‘คังโซยอง’ เพื่อนร่วมห้องที่ไม่ชอบหน้าเพราะแค่ไปฟ้องครูว่าเธอแกล้งคนในห้อง 

KBS WORLD TV / Youtube
KBS WORLD TV / Youtube 

..................................

อีกเรื่อง Angry Mom (2015) เรื่องราว ‘โช คังจา’ มนุษย์แม่ที่แปลงโฉมตัวเองเป็นนักเรียน เพื่อตามสืบว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตในโรงเรียนของ ‘โออารัน’ ลูกสาวของเธอที่เริ่มมีอาการป่วยทางจิต  

 소니뮤직코리아 Sony Music Korea / Youtube
 소니뮤직코리아 Sony Music Korea / Youtube 

อย่างภาพนี้ก็เป็นซีนที่เพื่อนๆ ในห้องแกล้งกันติดโน้ตตัวหนังสือคำด่าล้อเลียนไว้ในล็อกเกอร์ 

"ยัยโรคจิต โออารัน!"

"จิน อีกยอง ของแกตายไปแล้วใช่ไหม?​"

..................................

ส่วนเรื่องนี้ True Beauty (2020) ซีรีส์ที่พึ่งจบไปหมาดๆ เหตุการณ์ก่อนย้ายโรงเรียนของ ‘อิมจูกยอง’ ที่ถูกกลั่นแกล้งจากแก๊งเพื่อนในห้องเพียงเพราะแค่เรื่องหน้าตาจนเธอกลัวจนฝังใจ

Photo Credit: Nekosdrama.files.wordpress.com
Photo Credit: Nekosdrama.files.wordpress.com

..................................

ทั้งหมดนี้เป็นแค่พฤติกรรมของเด็กเกาหลีด้วยกันเองนะครับอย่างที่บอกไปว่าเกาหลีเป็นอีกหนึ่งประเทศที่แนวคิดชาตินิยมเข้มข้นมากๆ ดังนั้นคนเชื้อชาติอื่นๆ หรือแม้กระทั่งลูกครึ่งที่อาศัยในเกาหลี(บางคน)ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความแปลกแยก และอาจถูกกลั่นแกล้งด้วยวิธีต่างๆ เช่น ถูกด่าทอ ล้อเลียน ไล่กลับประเทศ หรืออาจทำร้ายร่างกายเพียงเพราะรู้สึกไม่ถูกชะตาด้วยก็มีนะครับ /เห้อ...

SBS 뉴스 /  Youtube
SBS 뉴스 /  Youtube

อย่างเมื่อไม่นานมานี้เองก็มีสื่อเกาหลีรายงานข่าวเกี่ยวกับเด็กนักเรียนหญิงวัย 15 ปีถูกรุ่นพี่ทำร้าย ทั้งตบตี ทั้งต่อยท้อง ที่ฟังดูซาดิสต์สุดคือการเอาบุหรี่และไฟแช็กจี้ไปตามเส้นผมและร่างกายส่วนอื่นๆ จนเลือดออกและต้องหามส่งโรงพยาบาลทันที // สาเหตุก็เพียงเพราะเธอมีแม่เป็นชาวต่างชาติเท่านั้นครับ

 

ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อนก็มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นหมือนกัน แม้ตอนแรกตำรวจสันนิษฐานว่าอาจเป็นแค่การฆ่าตัวตายหรืออุบัติเหตุเสียมากกว่า แต่ท้ายที่สุดก็พบหลักฐานที่มัดตัวกลุ่มเด็กวัย 14 ที่รุมกันกลั่นแกล้งเพื่อนลูกครึ่งก่อนรวมหัวกันจับโยนลงตึก  เปลี่ยนจากรังแกเป็นจงใจ 'ฆาตกรรม'

Photo  Credit: Insight.co.kr
Photo  Credit: Insight.co.kr

ในเกาหลีจะเรียกกลุ่มอันธพาลเหล่านี้ว่า ‘อิลจิน’ (일진) พวกที่ชอบโดดเรียน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า วางตัวเป็นใหญ่ข่มเหงคนในโรงเรียนไปทั่ว ที่สำคัญดาราหรือคนดังในวงการเกาหลีคนไหนที่ถูกขุดคุ้ยและจับได้ว่าในอดีตเคยทำตัวเป็นอิลจินมาก่อนก็จะถูกกระแสสังคมโจมตีอย่างหนักหน่วง  อย่างเมื่อไม่นานมานี้ในแวดวงวอลเลย์บอลเกาหลีใต้ก็มีข่าวเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งถูกหยิบมาวิจารณ์กันไปทั่ววงการกีฬา

เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีข่าวช็อกวงการนักกีฬาเกาหลีใต้เกิดขึ้น เมื่อมีคนออกมาแฉสองสาวฝาแฝดนักวอลเลย์บอล ‘อีดายองและอีแจยอง’ ว่าพวกเธอกลั่นแกล้งเพื่อนในโรงเรียนอย่างหนักเมื่อ 10 ปีก่อน แม้ทั้งคู่จะออกมาขอโทษต่อหน้าสื่อและส่งจดหมายขอโทษให้ผู้ที่โดนกระทำ แต่ทางสโมสรที่สองสาวสังกัดอยู่ก็สั่งพักการแข่งขันแถมยังถูกถอดออกจากทีมชาติเกาหลีใต้

Photo  Credit:  Img.i-scmp.com
Photo  Credit:  Img.i-scmp.com

จากเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงของฝาแฝดลีดายอง-ลีแจยอง ทางรัฐบาลของเกาหลีก็ได้ตัดสินใจจัดตั้งระบบจัดการข้อมูลของนักเรียนในโรงเรียนกีฬาทั่วภูมิภาค เพื่อตรวจสอบและป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ก็ยังออกกฎตัดสิทธิ์การแข่งขันกีฬาถาวรสำหรับคนที่เคยถูกไล่ออกจากโรงเรียนด้วยสาเหตุการใช้ความรุนแรง เรียกได้ว่าแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายที่เด็ดขาดเป็นตัวอย่างให้สำหรับคนที่ชอบรังแกคนอื่นอีกด้วย

และนอกจากนี้แล้ว ช่วงนี้ยังมีศิลปินดารานักแสดงและไอดอลหลายคนถูกออกมาแฉว่าเคยกลั่นแกล้งคนอื่นเมื่อสมัยเรียนอยู่มัธยม บางเคสก็เป็นเรื่องจริงและถูกกระแสสังคมโจมตีอย่างหนัก  อย่างล่าสุดก็เป็นประเด็นของนักแสดงหนุ่มตัวท็อปของวงการอย่าง 'จีซู' หลังจากมีคนออกมาโพสต์ถึงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนของเขา และยังรวมไปถึงเคยล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment) เมื่อสมัยมัธยมอีกด้วย ซึ่งทางนักแสดงหนุ่มก็ได้ออกมาโพสต์ขอโทษถึงการกระทำในอดีตผ่านแอคเคานต์ไอจีของตัวเอง 

แต่ในบางกรณีก็มีคนบางกลุ่มนำประเด็นนี้มาใช้ปลุกปั่นให้เกิดความเสียหาย แม้ว่าท้ายที่สุดทางค่ายออกมายืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริงก็ตาม แต่กระแสจากคนทั่วไปบางคนก็เลือกเชื่อจากข่าวที่ได้ยินไปแล้ว  สุดท้ายก็วนลูปกลับมาด่าทอและคอมเมนต์คำเสียๆ หายๆ ให้กับกับศิลปินหลายคนที่ตัวเองก็เป็นเหยื่อเช่นกัน (เหมือนกับกลายเป็นว่าบูลลี่ซ้ำซ้อนไปอีก)  ซึ่งจากข่าวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นข่าวจริงหรือข่าวลือที่ถูกปล่อยออกมา ก็ทำให้เห็นว่าเรื่องการกลั่นแกล้งในโรงเรียนนั้นเป็นอีกประเด็นใหญ่ที่มีมาตลอดจริงๆ และก็มีหลายคนที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากความทรงจำแสนเลวร้ายในโรงเรียนไม่น้อยเลย

Photo Credit:  Biaswrecker.com
Photo Credit:  Biaswrecker.com

ในเกาหลีปัญหานี้รุนแรงมากจริงๆ จนเหล่าผู้ปกครองหลายคนต้องหันไปพึ่งบริการ ‘Uncle Service’ หรือการจ้างชายร่างใหญ่มาปกป้องลูกของตัวเอง โดยบริการนี้จะมีแพ็กเกจให้เลือก 3 แบบ ดังนี้ 

1.Uncle Package ส่งชายดุดันวัยกลางคนไปเตือนกลุ่มเด็กที่รังแกและบอกให้หยุดการกระทำเหล่านั้น (ค่าใช้จ่าย 500,000 วอน ประมาณ 13,661.12 บาท) 

2.Evidence Package จ้างให้ไปแอบถ่ายคลิปตอนเด็กถูกรังแกก่อนส่งให้ผู้บริหารโรงเรียนพร้อมเรียกร้องให้แก้ไขเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด (ค่าใช้จ่าย 400,000 วอน ประมาณ 10,928.90 บาท)

3.Chaperone Package ให้ลุงวัยกลางคนยืนประท้วงหน้าที่ทำงานของพ่อแม่เด็กเกเร พร้อมตะโกนว่า ‘ผู้ปกครองเด็กที่ชอบแกล้งคนอื่นทำงานอยู่ที่นี่’ วนไปมาจนกว่าพ่อแม่ของเด็กเหล่านั้นจะออกมารับผิดชอบ (ค่าใช้จ่าย 2,000,000 วอน ประมาณ 54,644.48 บาท) 

..............................

ไม่ใช่แค่เกาหลีเท่านี้เท่านั้นที่ต้องเจอกับปัญหาการกลั่นแกล้งและความรุนแรงในหมู่วัยรุ่น อย่างไทยหรือหลายๆ ประเทศก็มีข่าวแบบนี้ให้เห็นกันบ่อยๆ ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่ควรหันมาใส่ใจให้มากขึ้น เพราะความรุนแรงในโรงเรียนนั้นอาจเป็นปมหรือสร้างบาดแผลในจิตใจและส่งผลต่อการใช้ชีวิตของใครหลายคนที่ตกเป็นเหยื่อไม่มากก็น้อยเลยล่ะ 

ปัจจุบันก็มีคนออกมารณรงค์และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กันมากขึ้น ก็นับว่าเป็นก้าวเล็กๆ ที่ทำให้ผู้คนเข้าใจและเห็นคุณค่าของมนุษย์ด้วยกัน พี่เองก็ได้แต่หวังว่าสักวันปัญหานี้คงจะหมดไปครับ.. 

  

 

Source: https://www.quora.com/Is-bullying-in-Korea-really-as-severe-as-in-the-movieshttps://www.asiaone.com/health/s-korea-struggles-save-students-bullying https://ubitto.com/blog/bullying-in-south-korea/https://medium.com/@sylvia.khor/school-bullying-in-south-korea-9b8583fcc72bhttps://www.youtube.com/watch?v=jM5b9IsmBYo&feature=emb_title. https://www.youtube.com/watch?v=I3A45YCTo8ghttps://news.sbs.co.kr/news/endPage.do?news_id=N1006221000&plink=THUMB&cooper=SBSNEWSPROGRAMhttps://boingboing.net/2018/09/15/violence-inherent-in-the-syste.html 

 
พี่ไพร
พี่ไพร - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

CiNdErElLa&Me Member 5 มี.ค. 64 16:41 น. 1

กำลังเกาะกระแสเรื่องนี้ในทวิตเลยค่ะ ตามไม่ค่อยทันแต่กระทู้รีแคปได้ดีมาก


รู้สึกปัญหานี้ออกมาให้เจออยู่เนืองๆแล้วก็ไม่หายไปสักที แต่ถึงอย่างนั้นเราก็รู้สึกว่าการมีแผนรับมือและพร้อมที่จะแก้ปัญหาสำคัญกว่าเยอะ ไม่อยากมองกลับมาเลยค่ะว่าแถวนี้มันเป็นยังไง (จากใจคนเคยโดนเหมือนกันตอนเด็ก)


ที่สนใจก็คือ uncle service เนี่ยแหละ ตอนแรกอ่านแล้วแบบเอ๊ะ 5555555 แอบตลก แต่มันก็น่าคิดว่าทำไมถึงต้องมี แล้วทำไมพ่อแม่ผปค.ถึงได้ใช้บริการ


อ่านแล้วแบบ แง เด็กๆโตมาไม่ง่ายเลย อย่าทำร้ายกันเลยนะคะ มันฝังใจยันโตเลยจริงๆ

0
กำลังโหลด
สีน้ำเงินวาฬ Member 6 มี.ค. 64 11:01 น. 2

เห็นส่วนใหญ่เป็นลูกพ่อเเม่มีอำนาจไม่ก็พวกนิสัยเสียที่บ้านก็มีเเบบนี้เเต่เรารอดตายมาได้ก็ดีเเล้วละไม่อยากให้เป็นเเบบนั้นเลยจริงๆ

0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

CiNdErElLa&Me Member 5 มี.ค. 64 16:41 น. 1

กำลังเกาะกระแสเรื่องนี้ในทวิตเลยค่ะ ตามไม่ค่อยทันแต่กระทู้รีแคปได้ดีมาก


รู้สึกปัญหานี้ออกมาให้เจออยู่เนืองๆแล้วก็ไม่หายไปสักที แต่ถึงอย่างนั้นเราก็รู้สึกว่าการมีแผนรับมือและพร้อมที่จะแก้ปัญหาสำคัญกว่าเยอะ ไม่อยากมองกลับมาเลยค่ะว่าแถวนี้มันเป็นยังไง (จากใจคนเคยโดนเหมือนกันตอนเด็ก)


ที่สนใจก็คือ uncle service เนี่ยแหละ ตอนแรกอ่านแล้วแบบเอ๊ะ 5555555 แอบตลก แต่มันก็น่าคิดว่าทำไมถึงต้องมี แล้วทำไมพ่อแม่ผปค.ถึงได้ใช้บริการ


อ่านแล้วแบบ แง เด็กๆโตมาไม่ง่ายเลย อย่าทำร้ายกันเลยนะคะ มันฝังใจยันโตเลยจริงๆ

0
กำลังโหลด
สีน้ำเงินวาฬ Member 6 มี.ค. 64 11:01 น. 2

เห็นส่วนใหญ่เป็นลูกพ่อเเม่มีอำนาจไม่ก็พวกนิสัยเสียที่บ้านก็มีเเบบนี้เเต่เรารอดตายมาได้ก็ดีเเล้วละไม่อยากให้เป็นเเบบนั้นเลยจริงๆ

0
กำลังโหลด
oOilliOo Member 7 มี.ค. 64 12:24 น. 3

เรื่องนี้เหมือนเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมใน รร ของเกาหลีเลยอะ ไม่งั้นคงไม่มีซีรีส์ทำฉากแบบนี้ออกมาบ่อยๆหรอก บางคนได้เพื่อนได้สังคมที่ดีก็รอดไป แต่บางคนเห็นคนอ่อนแอไม่ได้ก็ชอบรังแก สงสารเหยื่อที่โดนกระทำนะ เพราะบาดแผลที่เกิดขึ้นทางใจรักษาให้หายยากกว่าบาดแผลทางกาย

0
กำลังโหลด
KiRaRiRaRiN Member 7 มี.ค. 64 14:35 น. 4

เกาหลีไม่ค่อยรุ้นะว่านานแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ คือที่ญี่ปุ่นก็มีนะค่ะ มักจะเหงมีหนังหรือในมังงะค่อนข้างบ่อยเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แกล้งในรร.อ่ะ โดยส่วนตัวก็เคยถูกแกล้งเพื่อนร่วมห้องแกล้งเหมือนกันค่ะ เราเปงโรคประจำตัวทำให้ถูกเพื่อนล้อบ่อยๆ น่าจะเพราะสมัยนั้นยังไม่มีคนเข้าใจเรื่องการเป็นโรคภูมิแพ้ค่ะว่ามันส่งผลต่อชีวิตประจำวันขนาดไหน

0
กำลังโหลด
Captain 10 มี.ค. 64 22:49 น. 5

“เมื่อลองย้อนไปดูที่ต้นตอของปัญหาจะพบว่า ส่วนหนึ่งก็เกิดจากพื้นฐานแนวคิดทางสังคมแบบ ‘ชาตินิยม’ ที่หล่อหลอมให้คนชอบการแข่งขันและพยายามทำให้คนอื่นดูด้อย”


ช่วยขยายความหน่อย ทำไมถึงบอกว่าแนวคิด ‘ชาตินิยม’ จึงเป็นรากฐานของปัญหา แล้วประเทศอื่นๆ ที่มีแนวคิดชาตินิยมมีปัญหาการบูลลี่บ้างไหม?

1
อืมมมมม 10 มี.ค. 64 23:33 น. 5-1

ชาตินิยมมาก เช่น ก็พอมีเด็กลูกครึ่งเข้ามา พอไม่ใช่เกาหลีแท้ ก็ถูกเหยียด ไม่เหยียดเปล่า ยังไปถึงลงมือบูลลีไง พวกเลือดผสม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด