เรื่องเล่าของ 'ชุดฮันบก' ที่เราอาจไม่เคยรู้!

           หลังจากที่สาว ๆ วง BLACKPINK   ปล่อย MV เพลง How You Like That ออกมา นอกจากเพลงที่ฟังเพราะติดหูแล้ว ชุดที่สาว ๆ ใส่ใน MV ก็เรียกเสียงฮือฮาจากแฟน ๆ ทั่วโลกได้เช่นกัน ชุดที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นชุดฮันบกแบบประยุกต์นั้นเองค่ะ พี่ป๊อปขอชื่นชมสไตล์ลิสที่ mix & match ชุดให้สาว ๆ ได้ออกมาสวย เท่ มาก ๆ  จนพี่ป๊อปเกิดความสงสัยอยากจะรู้เลยล่ะค่ะว่าก่อนที่จะมาเป็นชุดฮันบกสไตล์โมเดิร์นแบบที่สาว ๆ ใส่นั้น ชุดฮันบกของเกาหลีมีความเป็นมายังไง และวันนี้พี่ก็ได้เอาคำตอบมาฝากน้อง ๆ ทุกคนแล้วค่ะ 
 


          น้อง ๆ รู้ไหมคะว่าชุดฮันบกหรือชุดประจำชาติของเกาหลีแบบที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ตามซีรีส์นั้นมีมานานเป็นพัน ๆ ปีแล้วนะคะ เริ่มตั้งแต่สมัยอาณาจักรโครกูรยอ (37 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 668) กันเลยทีเดียว ซึ่งนักโบราณคดีทราบได้จากหลักฐานจากหลุมฝังศพและภาพวาดฝาผนัง ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการแต่งกายของคนในสมัยนั้นนั่นเองค่ะ ในสมัยก่อนคนเกาหลีจะใส่ชุดฮันบกเป็นประจำทุกวันเลยนะคะ จะไม่เหมือนสมัยนี้ที่จะเอาชุดฮันบกออกมาใส่เฉพาะวันสำคัญ ๆ เท่านั้น โดยชุดฮันบกในแต่ละยุคจนถึงปัจจุบัน จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและการใช้งานในชีวิตประจำวันค่ะ 

           หลัก ๆ แล้วชุดฮันบกจะประกอบไปด้วย 저고리 (ชอกอรี) เสื้อคลุมที่ยาวเลยเอวลงมา, 바지(พาจี) กางเกงสำหรับผู้ชาย และ 치마 (ชีมา) กระโปรงสำหรับผู้หญิง   นอกจากนั้นยังมีแถบผ้าเอาไว้คาดทับเสื้อคลุมบริเวณเอวด้วยค่ะ และด้วยความที่เกาหลีได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อในประเทศจีน ทำให้การแต่งกายจึงต้องมิดชิดตามความเชื่อของขงจื๊อ ชุดฮันบกเลยมีความยาวปิดมิดชิดแบบที่เราเห็นนั่นเอง แต่เนื่องจากสมัยก่อนคนเกาหลีใส่ชุดฮันบกทุกวัน และมีคนกลุ่มชนชั้นแรงงานที่ต้องทำงานใช่ไหมล่ะคะ เพื่อให้สะดวกกับการทำไร่ ทำนา และกิจกรรมต่าง ๆ จึงเกิดเป็นชุดฮันบกแบบที่ลำตัวและแขนของเสื้อคลุมสั้นลงค่ะ


          ชุดฮันบกมีประวัติยาวนานมาก ๆ  แต่ช่วงที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ๆ จะมีอยู่ 2 ช่วงด้วยกัน คือในสมัยอาณาจักรโครยอ (ค.ศ.918 - ค.ศ.1392 ) และสมัยอาณาจักรโชซอน (ค.ศ.1392 - ค.ศ.1910) ค่ะ 

          สาเหตุที่ชุดฮันบกมีการเปลี่ยนแปลงในสมัยอาณาจักรโครยอเป็นเพราะว่ามีการรับอิทธิพลมาจากมองโกล เนื่องจากราชวงศ์โครยอได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับจักรวรรดิมองโกลโดยการให้ “องค์ชายวังคี” อภิเษกกับองค์หญิงจากมองโกลชื่อว่า “โนกุก” ทำให้มีการรับเอาศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงการแต่งกายมาจากมองโกลด้วย จากตอนแรกมีเพียงแค่แถบผ้าที่ใช้คาดทับเสื้อคลุมชอกอรี ภายหลังก็มี 옷고름 (โอซโกรึม) เพิ่มเข้ามาเพื่อใช้เป็นโบว์ผูกเสื้อให้ติดกัน รวมถึงเสื้อชอกอรีของผู้หญิงก็มีการทำให้ความยาวเสื้อสั้นลง และแขนเสื้อถูกปรับให้แคบและมีความโค้งเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

(ภาพประกอบจากซีรีส์ Moon Lovers)

          พอเข้าสู่ช่วงปลายของอาณาจักรโชซอน ผู้คนก็เริ่มมีการศึกษา เริ่มมีความรู้ ผู้ชายมักจะไปสังสรรค์กันที่สถานเริงรมย์เพื่อดื่มและพูดคุยกันเรื่องการเมือง สถานเริงรมย์ได้รับความนิยมมากจึงทำให้เหล่า 기생 (กีแซง) หรือ ผู้หญิงที่คอยให้ความบันเทิงแก่ผู้ชายมีการแข่งขันกันสูงขึ้น จึงเริ่มมีการปักลวดลายลงบนชุดฮันบกเพื่อให้เกิดความสวยงามและเรียกความสนใจจากลูกค้านั่นเอง รวมถึงช่วงนั้นเริ่มมีการค้าขายกับต่างประเทศ ผ้าที่นำมาใช้ตัดชุดฮันบกจึงมีความหลายหลาย ลวดลายและสีสัน สวยงามมากขึ้นค่ะ นอกจากนี้ในสมัยโชซอนยังมีการนำเอาการปักลวดลายลงบนผ้าและสีของผ้ามาใช้เพื่อบ่งบอกตำแหน่งในราชสำนัก ชนชั้นทางสังคม และสถานภาพสมรสอีกด้วย

  
          โดยเด็ก ๆ และหญิงสาวจะใส่ชุดฮันบกสีสันสดใส ๆ หญิงและชายวัยกลางคนจะใส่ชุดฮันบกสีเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาด และสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานมักจะใส่เสื้อคลุมชอกอรีสีเหลืองคู่กับกระโปรงชีมาสีแดง ในขณะที่หญิงสาวที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อคลุมสีเขียว แดง และผู้หญิงที่มีลูกชายจะใส่สีน้ำเงินกรมท่าค่ะ สำหรับคนชนชั้นสูงจะมีสีให้เลือกใส่เยอะค่ะ
 

          แต่สำหรับคนธรรมดาทั่วไปนั้นจะต้องใส่สีขาวเป็นหลัก และใส่สีชมพูอ่อน เขียวอ่อน เทา หรือสีชาโคลในวันสำคัญเท่านั้น ส่วนเรื่องตำแหน่งและชนชั้นทางสังคมจะดูได้จากเนื้อผ้าที่ใช้ทำชุดฮันบกค่ะ สำหรับชนชั้นสูงจะใส่ชุดฮันบกที่ทำจากผ้าป่าน หรือผ้าที่มีเนื้อบางเบาสำหรับสวมใส่ในฤดูร้อน แต่สำหรับคนทั่วไปจะต้องใส่ผ้าคอตต้อนเป็นหลักเท่านั้นค่ะ


          นอกจากนั้นแล้วลวดลายที่ปักอยู่บนชุดก็มีความหมายซ่อนไว้อยู่เหมือนกันนะคะ ลวดลายที่ปักลงบนชุดจะแสดงถึงความปรารถนาของผู้ที่สวมใส่นั่นเองค่ะ อย่างเช่น ดอกโบตั๋นที่ถูกปักลงบนชุดแต่งงาน จะแสดงถึงความปรารถนาที่จะมีเกียรติยศและความมั่งคั่ง ส่วนดอกบัวจะแสดงถึงความปรารถนาความสูงส่ง ค้างคาวและทับทิมจะแสดงถึงความปรารถนาที่จะมีลูก สำหรับมังกร หงส์    นกกระเรียน และ เสือ จะเอาไว้ให้ราชวงศ์และเจ้าหน้าที่ระดับสูงใช้เท่านั้นค่ะ


          ต่อมาความยาวของเสื้อชอกอรีได้ถูกทำให้สั้นลงอีกครั้ง โดยวัดจากไหล่ลงมาเหลือความยาวเพียง 20 เซนติเมตรเท่านั้นเองค่ะ ทำให้ความยาวไม่พอที่จะปิดหน้าอกได้ เลยมีการเปลี่ยนให้ใส่กระโปรงชีมาสูงขึ้นมาอยู่บริเวณใต้หน้าอกแทน และมีการนำเอาผ้า 허리띠 (ฮอรีตี) มาผูกไว้รอบอกซึ่งทำให้เห็นรูปร่างของผู้หญิงมากขึ้นจากเดิมค่ะ 

          แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 18 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19 ผู้หญิงชนชั้นล่างได้เลิกใส่ 허리띠 (ฮอรีตี) เพื่อปิดบังหน้าอก อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงจะสงสัยกันใช่ไหมล่ะคะ ว่าทำไมผู้หญิงยุคนั้นถึงเลือกที่จะเปิดหน้าอกโล่งโจ้งแทนที่จะปิดให้มิดชิด คำตอบก็คือ เนื่องจากในสมัยนั้นผู้หญิงที่มาจากชนชั้นล่างไม่มีความรู้ หรือฐานะทางสังคมอะไรเลย หน้าที่ที่สำคัญและมีเกียรติสำหรับหญิงสาวธรรมดาหรือหญิงที่เกิดในตระกูลชั้นล่างเหล่านี้มีเพียงแค่การให้กำเนิดและการเลี้ยงดูลูกชายเท่านั้น สำหรับคนในสมัยนั้นเขามองว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนมีลูกชายจะถือเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญมาก ผู้หญิงกลุ่มนี้จึงมีการแต่งกายแบบพิเศษเพื่อแสดงให้เห็นว่าเธอมีลูกชายแล้วนั่นเองค่า

          และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีต่างชาติเข้ามารุกรานโชซอนมากมาย ทำให้หญิงสาวชาวโชซอนเริ่มนำ “장옷 (ชาง-อท)”, “쓸치마 (ซึลชีมา) หรือ 쓰개치마 (ซือแกชีมา)” หรือ “너울 (นออูล)”มาใช้เพื่อปิดบังใบหน้ากันเป็นจำนวนมาก และหันกลับมาสวมใส่เสื้อชอกอรีที่ยาวขึ้น แม้แต่เหล่ากีแซงเองก็เริ่มหันมาปกปิดเรือนร่างและหน้าตาเช่นเดียวกัน เพื่อปกป้องตัวเองจากการถูกข่มเหงรังแกโดยทหารญี่ปุ่น หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาคุกคามประเทศ


          ต่อมาในช่วงยุคล่าอาณานิคมของญี่ปุ่น กลุ่มชนชั้นสูงเริ่มมีความต้องการที่จะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทันสมัยมากขึ้น เลยมีการปรับสไตล์ของฮันบกใหม่ โดยใส่กระโปรงชีมาที่สั้นกว่าเมื่อก่อนคู่กับเสื้อชอกอรีสีขาว และในเวลาเดียวกันนั้นวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามา ทำให้เกิดค่านิยมการแต่งกายแบบชาวตะวันตก ส่งผลให้การสวมใส่ฮันบกจากเดิมเปลี่ยนไปตามกระแสแฟชั่น และหันไปสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบชาวตะวันตกกันมากขึ้น จนในที่สุดการสวมใส่ฮันบกในชีวิตประจำวันก็ได้เริ่มหายไปในปี 1960 กลายเป็นจะสวมใส่ชุดฮันบกกันก็ต่อเมื่อเป็นวันเทศกาลหรือโอกาสพิเศษเท่านั้น เช่น วันปีใหม่ วันขอบคุณพระเจ้า หรือ งานแต่งงาน เป็นต้นค่า

          ชุดฮันบกมีประวัติความเป็นมายาวนานจริง ๆ เลยนะคะเนี่ย และสิ่งที่น่าชื่นชมก็คือคนเกาหลีเขารักษาวัฒนธรรมของเขาไว้ดีมาก ๆ เลย ยิ่งในปัจจุบันมีการปรับให้ชุดฮันบกมีความเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แถมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามและสะดวกสบายอีก นับถือความ creative ของพวกเขาเลยจริง ๆ ค่า

พี่ป๊อปปี้

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

อ่านิววว 17 ส.ค. 63 17:18 น. 1

ฮันบกผู้ชายยย ชอโกรี คือเสื้อตัวในนะคะ เสื้อกั๊กยาวๆ ที่ทับข้างนอก เรียก จอนบก น้า เส้นชี้ๆ อาจจะงงนิดนึง

1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

อ่านิววว 17 ส.ค. 63 17:18 น. 1

ฮันบกผู้ชายยย ชอโกรี คือเสื้อตัวในนะคะ เสื้อกั๊กยาวๆ ที่ทับข้างนอก เรียก จอนบก น้า เส้นชี้ๆ อาจจะงงนิดนึง

1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากเว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

กำลังโหลด
pampkinpie Member 10 มิ.ย. 64 17:27 น. 4

CLC ก็เป็นวงแรก ๆ ที่ใส่ฮันบกประยุกต์ในเพลงนะคะ อย่างเพลง ME ที่เล่าถึงความสวยในแบบของตัวเอง เพลงดีมาก คนร้องสวยมาก เอ็มวีก็ดีค่ะ ไปฟังกันได้เด้อ

1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด