อยากเป็นนักเขียนต้องรู้! ทรีตเมนต์และพล็อต เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มาดู


อยากเป็นนักเขียนต้องรู้
ทรีตเมนต์และพล็อต เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มาดู!

 
สวัสดีค่ะชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน เชื่อว่ามีนักเขียนหลายๆ คนสับสนกับคำว่าทรีตเม้นต์และพล็อตใช่ไหมคะ คำสองคำนี้ เป็นคำสำคัญที่นักเขียนทุกคนต้องรู้และจำให้ขึ้นใจ รวมถึงต้องทำให้ได้ด้วย เพราะมันจะช่วยให้เราเขียนนิยายได้ง่ายขึ้น น่าสนใจมากขึ้น รวมถึงทำให้งานเขียนของเราสมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วยค่ะ 

อยากรู้ไหมสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร และมันมีความหมายสำคัญแค่ไหน พี่เนยนิมีคำอธิบายมาฝากกันแล้วในบทความนี้ค่ะ 
 

 
ทรีตเมนต์ (Treatment)
ทรีตเมนต์ คือ การเขียนเรื่องย่อแบบขยายความ หรือเรื่องย่อแบบละเอียดนั่นเอง (เอ๊ะ...ย่ออย่างละเอียดทำยังไง คำถามนี้หลายคนอาจจะสงสัย) ทรีตเมนต์เป็นการลำดับเรื่องราวเหตุการณ์ในนิยายของเราตั้งแต่ต้นจนจบ โดยนักเขียนส่วนใหญ่จะเขียนในรูปแบบของแต่ละตอน หรือบางคนก็เขียนเป็นฉากๆ การเขียนทรีตเม้นท์คือการขยายความเรื่องย่อให้รู้ว่าฉากนั้นทำอะไร ที่ไหน กับใคร หรือใจความหลักสำคัญของตอนนั้นๆ คืออะไร มีกี่ตอน ตอนละกี่หน้า ให้พูดง่ายๆ การทำทรีตเมนต์ก็เหมือนการวางโครงร่างเอาไว้ทุกตอน เพื่อให้นักเขียนทำงานได้ง่ายมากขึ้น แต่ข้อควรระวังที่ต้องรู้คือ... ในทรีตเม้นท์จะไม่มีการใส่บทสนทนาลงไป

ประโยชน์ของการเขียนทรีตเมนต์ : ช่วยควบคุมทิศทางการเขียน และป้องกันการออกทะเลของเรื่อง ทำให้นักเขียนทำงานง่ายขึ้น ไม่เกิดอาการตัน หรือคิดไม่ออก ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร สร้างสถานการณ์อย่างไร นักเขียนอาชีพหลายๆ คนจะทำทรีตเมนต์ของเรื่องไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ทำให้เขียนได้เร็วและง่ายขึ้น 
 
ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนทรีตเมนต์คร่าวๆ
 

 
ชื่อเรื่อง (จะนึกขึ้นเลย หรือว่าเขียนให้จบก่อนค่อยคิดก็ได้)
ลักษณะเรื่อง 
นางเอกแอบรักพระเอกมาตั้งแต่เด็ก แต่พระเอกคิดกับนางเอกเป็นแค่น้องสาวมาตลอด จากคุณหนูคนสวยจึงงัดกลเม็ดเพื่อมัดใจพี่ชายที่แสนดี ให้หันกลับมามองเธอบ้าง (แนวแอบรัก หวานๆ รักละมุน)
จำนวนตอน 25 ตอน ตอนละประมาณ 6-10 หน้า (จำนวนหน้าจำนวนตอนสามารถสร้างสรรค์เองได้ เพราะนิยายของแต่ละคนความยาวทั้งเรื่องไม่เท่ากัน)
ตัวละคร 
วางคาแรกเตอร์เอาไว้คร่าวๆ และอาจจะบรรยายคุณลักษณะเพิ่มเติม เพื่อให้ตัวนักเขียนเข้าใจมากขึ้น เช่น 
A พระเอกของเรื่อง สูง 185 ซม. หนัก 70 กก. อายุ 29 ปี อาชีพวิศวกร ชอบเล่นฟุตบอล มีงานอดิเรกคือชงกาแฟ สนิทกับน้องสาวข้างบ้านแต่ไม่เคยคิดเกินเลย และไม่รู้ใจเธอ 
B นางเอกของเรื่อง สูง 167 ซม. หนัก 47 กก. อายุ 27 ปี อาชีพนางแบบ แอบชอบพระเอกแต่เด็ก แต่ถูกคิดแค่น้องสาวมาตลอด จึงหาทางทำให้พระเอกรักตัวเองให้ได้ 
บทนำ 
เล่าถึงเรื่องราวของเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายสองคนที่กำลังเล่นสนุกกัน พร้อมกับให้สัญญาว่าจะดูแลกันตลอดไป (บทนำ จะเขียนหรือไม่ก็ได้ เพราะบางเรื่องอาจจะมีขึ้นเพื่อเล่าถึงเรื่องราวหรือที่มาที่ไปก่อนจะเกิดเหตุการณ์ปัจจุบัน หรืออาจจะเล่าถึงเรื่องราวของอนาคต เพื่อให้นักอ่านรู้สึกสนใจอยากรู้มากขึ้น)
บทที่ 1
- พระเอกกลับจากเมืองนอกด้วยวัย 29 ปี
- เจอนางเอกที่สนามบิน นางเอกพูดเรื่องสัญญาในวัยเด็กเพราะคิดว่าพระเอกยังจำคำสัญญาได้
บทที่ 2
- พระเอกปฏิเสธคำสัญญาที่เคยให้ เพราะเขากลับมาพร้อมกับแฟนสาวที่คาดว่าจะแต่งงานและมีแพลนในอีก 2 เดือนข้างหน้า
 - นางเอกคาดคั้นคำสัญญา ร้องไห้ออกมา แต่พระเอกไม่ได้สนใจ
บทที่ 3
- นางเอกไม่ลดละเลิกที่จะตามตื๊อ ด้วยคติที่ว่า ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก
- พระเอกหงุดหงิดจนเกิดทะเลาะกับนางเอกอย่างรุนเเรง ถึงขั้นตัดขาดกัน
บทที่ 4
- นางเอกเปลี่ยนวิธีในการเเสดงออก ด้วยการใช้ความดีเข้าใส่ (หลักการเขียนหรือการดำเนินเรื่องของนักเขียนแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งต้องคำนึงถึงฉากต่อไปเสมอว่าตัวละครจะทำอะไรต่อ มิเช่นนั้นนิยายของเราอาจจะถึงทางตัน หรือออกทะเลไปเลยก็ได้)
- พระเอกแปลกใจกับท่าทีที่เปลี่ยนไปของนางเอก แต่คิดกับนางเอกเสมอว่าเธอคือน้องสาว คิดเป็นอื่นไม่ได้
บทที่ 20 (ขอข้ามมาบทหลังๆ ของเนื้อเรื่องเลยนะคะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา)
- พระเอกรู้สึกกำลังสูญเสียบางอย่าง เมื่อนางเอกตัดสินใจที่จะหมั้นกับคนอื่น พร้อมกับปมที่ค่อยๆ เฉลยว่านางเอกเป็นคนดูแลพระเอกตอนที่พระเอกประสบอุบัติเหตุมาตลอด  พระเอกจึงรู้ว่านางเอกคือคนที่รักเขาจากใจจริงๆ จนเธอต้องยอมเสียสละให้เขามีความสุขกับคนที่รัก แม้ตัวเองจะไม่สมหวังก็ตาม (จะเห็นว่าฉากนี้ใกล้จะดำเนินมาจนจบเเล้ว เราควรคลายปมของเรื่อง หรือแม้กระทั่งเฉลยความคิดความรู้สึกของตัวเองละครออกมา ซึ่งกว่าจะมาถึงฉากนี้ ฉากก่อนหน้าก็ควรผูกปมเอาไว้ และไต่ระดับความคิดความต้องการของตัวละครทีละนิด หรือตามความเหมาะสมของสัดส่วนนิยาย เพื่อให้นักอ่านได้เข้าใจว่าที่มาที่ไปของฉากล่าสุดมาจากไหน มีพัฒนาการอย่างไร เพราะถ้าเขียนก้าวกระโดดนิยายของคุณจะไม่สมบูรณ์ทันที)
 
พล็อต (Plot)
โดยปกตินักเขียนส่วนมากก็จะวางพล็อต หรือก็คือวางโครงเรื่องฉบับย่อๆ เอาไว้ เพื่อให้รู้ว่านิยายของเราจะมีเป้าหมายอย่างไร แต่ไม่ได้มุ่งเน้นว่าฉากนั้นจะอยู่ที่ไหน หรือตัวละครทำอะไรอยู่ เพียงแต่เน้นใจความหลักของเรื่อง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางของเรื่อง แต่ในตัวพล็อตนั้นไม่ได้ใส่รายละเอียดแต่ละตอนอย่างชัดเจนเหมือนทรีตเมนต์ 

ประโยชน์ของการเขียนพล็อต : ทำให้เรามีแนวทางการเขียนที่ชัดเจน และรู้ว่าควรจะดำเนินเรื่องไปทางไหน อย่างไร หากเขียนแล้วเริ่มรู้สึกว่าสับสนไม่แน่ใจ ก็สามารถกลับมาอ่านพล็อตอีกครั้ง และหาทางตบเรื่องให้กลับมาสู่เส้นเรื่องเดิมได้ 
 
ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนพล็อตคร่าวๆ 
 

 
            นางเอกกับพระเอก (อาจจะใช้เป็นชื่อตัวละครเพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและเข้าใจ) รู้จักกันมาตั้งแต่ยังเด็ก และสัญญากันไว้ว่าจะอยู่ดูแลกันตลอดไป จนกระทั่งพระเอกไปเรียนต่อเมืองนอก นางเอกก็ยังคงเฝ้ารอ รอการกลับมาของพี่ชายที่เธอรัก เวลาผ่านไป 10 ปี พระเอกกลับมาเมืองไทยพร้อมกับสาวสวยคนหนึ่ง โดยที่เขาแนะนำว่าเป็นคนรัก ทำเอาหัวใจของนางเอกแหลกสลาย เธอจึงสติหลุดที่พระเอกผิดสัญญา ทำให้ทะเลาะกันใหญ่โต ทั้งคู่จึงมองหน้ากันไม่ติด แต่เพราะความรักทำให้นางเอกเลือกที่จะอ่อนลง ทำดีกับเขามากขึ้น เพราะหวังว่าพี่ชายที่แสนดีจะกลับมาเป็นคนเดิม พระเอกพยายามผลักไสนางเอกทุกอย่าง จนวันหนึ่งเขาประสบอุบัติเหตุตาบอด และมีนางเอกดูแลโดยที่ไม่บอกว่าเป็นตัวเอง พระเอกจึงไม่รู้ว่านางเอกอยู่ข้างกายคอยเป็นห่วงเสมอ และเมื่อพระเอกหายดีก็รับรู้ความจริงทุกอย่าง แต่เกือบเสียนางเอกไปให้กับคนอื่นตลอดกาล
  
สรุปความแตกต่างระหว่างทรีตเมนต์กับพล็อต
1. ทรีตเมนต์คือการบรรยายเนื้อเรื่องสำคัญของแต่ละฉากหรือแต่ละตอน แต่พล็อตคือการเล่าเนื้อเรื่องโดยรวม
2. ทรีตเมนต์บรรยายฉากสำคัญ รวมไปถึงอาจบอกสถานที่ที่ตัวละครอยู่ หรือบรรยายถึงอารมณ์ความรู้สึกได้ แต่พล็อตจะเน้นการดำเนินเรื่องมากกว่าอารมณ์ตัวละคร
3. ทรีตเมนต์สามารถควบคุมทิศทางของการดำเนินเรื่องได้ดีกว่าพล็อต เพราะละเอียดกว่า
4. ทรีตเมนต์มีความละเอียดและซับซ้อนมากกว่าพล็อต และช่วยให้นักเขียนทำงานได้ง่ายกว่า เพราะเป็นการวางรูปแบบการเขียนไว้แล้ว ตั้งแต่ต้นจนจบ  
 
จะเห็นว่าแม้จะดูคล้ายกันในบางจุด แต่สรุปแล้ว ทรีตเมนต์กับพล็อตก็มีความแตกต่างอยู่มากพอสมควร สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ ทรีตเมนต์ใช้เพื่อขยายความ บรรยายพฤติกรรม ความคิด รวมถึงใส่รายละเอียดเรื่องฉากต่างๆ สถานการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น การทำทรีตเมนต์ช่วยให้นักเขียนชัดเจนกับผลงาน และสามารถเขียนได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยสร้างความสมเหตุสมผลในนิยาย ทำให้เนื้อเรื่องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนพล็อตนั้น เป็นการกำหนดทิศทางไว้คร่าวๆ แต่ไม่มีรายละเอียดชัดเจน ทำให้การทำงานอาจจะยากกว่า ทางที่ดี นักเขียนควรทำทั้งพล็อตและทรีตเมนต์ไว้คู่กัน จะทำให้เขียนนิยายได้ง่ายกว่าเดิมมาก 
 
อ่านมาถึงตรงนี้ น้องๆ ชาวเด็กดีพอจะเข้าใจหรือยังเอ่ยว่าสองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร แต่จริงๆ การเขียนทรีตเม้นต์ กับ พล็อต มันไม่มีกฎตายตัวที่ทุกคนจะต้องทำแบบนี้ ต้องยาวขนาดนี้ ละเอียดแค่ไหน หรือต้องทำตามแบบแผนอย่างชัดเจน แต่ว่า... ขึ้นอยู่กับเทคนิคหรือวิธีการของแต่ละคนว่าจะดำเนินเรื่อง หรือลำดับเหตุการณ์ยังไง แต่สิ่งที่พี่เนยนิอยากจะเพิ่มไว้สักนิดก็คือ เวลาเขียน ยังไงก็อย่าลืมความสมเหตุสมผล และที่มาที่ไปของตัวละครด้วย นักอ่านที่รักของเราจะได้สนุก อิน และเข้าใจในเนื้อเรื่องที่เราจะสื่อมากขึ้น
 
สุดท้ายนี้พี่เนยนิขอลาไปก่อน หวังว่าครั้งนี้น้องๆ ชาวเด็กดีทุกคนจะได้รับสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับการเขียนนิยายกันนะคะ ไว้ครั้งหน้ามาเจอกัน แต่จะเป็นบทความหรือเทคนิคอะไร ก็รอติดตามได้เลยค่ะ 
พี่เนยนิ 
 

พี่เนยนิ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

stima Member 20 ก.ค. 61 20:47 น. 1

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ สารภาพว่าเขียนนิยายมาถึงเรื่องที่ 7 ไม่ค่อยได้เขียนทรีตเมนต์เลยค่ะ เพราะมักจะปล่อยให้ตัวละครเล่าเรื่องของเขาเอง หรือบางทีเขียนแล้วตัวละครก็พาให้ต้องเปลี่ยนไปจากที่ตั้งใจตลอด แฮ่...

0
กำลังโหลด
Glory Glacier Member 20 ก.ค. 61 22:07 น. 2

เพิ่งรู้ว่าที่เขียนย่อเอาไว้แต่ละตอนมันเรียกว่า treatment ส่วน plot นั่นคงกลายเป็นเรื่องย่อเวลาเอาไปส่ง สนพ พิจารณาเสียมากกว่า ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะ

0
กำลังโหลด
เจ้าหนูฤดูฝน Member 15 ต.ค. 61 10:40 น. 10

Treatment นี่บอกตรง ๆ ว่าทำนะ แล้วเหมือนอาถรรพ์ เรื่องไหนทำ เขียนไม่จบสักเรื่อง 555555555555555555555555555555555555555555

1
กำลังโหลด
AlohaWMN Member 27 ส.ค. 64 11:05 น. 12

ของคุณสำหรับบทควาดีๆนะค้า :) ต่อไปนี้จะวางแผนดำเนินเรื่องตามนี้แล้วค่า เพราะหลายเรื่องที่ผ่านมาหลุดออกทะเลไปไกลเลยค่ะ เราเป็นคนที่ด้นสดมาตลอดบางทีคิดไม่ออก ตันก็เขียนไม่จบ อัปไม่เป็นเวลาบ้าง เรื่องไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้เลยค่ะ///สารภาพความจริงทั้งหมดออกมาซะ555 แต่พอมารู้อย่างนี้คงต้องกลับมาตั้งหน้ารีไรท์ใหม่ให้หมดเลยค่ะ ฮึบ!!https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-01.png ///ตั้งหน้ารีไรท์ต่อไป

0
กำลังโหลด

18 ความคิดเห็น

stima Member 20 ก.ค. 61 20:47 น. 1

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ สารภาพว่าเขียนนิยายมาถึงเรื่องที่ 7 ไม่ค่อยได้เขียนทรีตเมนต์เลยค่ะ เพราะมักจะปล่อยให้ตัวละครเล่าเรื่องของเขาเอง หรือบางทีเขียนแล้วตัวละครก็พาให้ต้องเปลี่ยนไปจากที่ตั้งใจตลอด แฮ่...

0
กำลังโหลด
Glory Glacier Member 20 ก.ค. 61 22:07 น. 2

เพิ่งรู้ว่าที่เขียนย่อเอาไว้แต่ละตอนมันเรียกว่า treatment ส่วน plot นั่นคงกลายเป็นเรื่องย่อเวลาเอาไปส่ง สนพ พิจารณาเสียมากกว่า ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
.oO เจ้าเอย Oo. Member 23 ก.ค. 61 14:46 น. 4

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ ปกติเขียนแต่พล็อตไม่ค่อยได้เขียนทรีตเมนต์ เดี๋ยวต้องลองสักหน่อยแล้ว

0
กำลังโหลด
ท่านโซ Member 23 ก.ค. 61 16:34 น. 5

ขอบคุณสำหรับบทความครับ


ความจริงเรื่องพวกนี้มีในหัวไว้อยู่แล้ว แต่ก็ไม่เคยเขียนออกมา

จะแต่งนิยายเรื่องหนึ่งหรือภาคหนึ่งนี่คิดพล็อตภาพรวมไว้ในหัวอยู่แล้ว

แต่พอจะแต่งเป็นตอนๆ ก็ค่อยไปย่อยพล็อตเอาว่าตอนนี้จะแต่งถึงตรงนี้ ตัดจบถึงตรงนี้ แล้วค่อยไปใส่รายละเอียดในเรื่องเอา มันถึงได้ทำให้เขียนนิยายได้วันละตอนได้อย่างราบรื่น


พึ่งรู้เหมือนกันว่าอย่างนี้เค้าเรียกว่า "ทรีตเมนต์" ปกติคิดแต่พล็อตอย่างเดียว

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
Mila999 Member 29 ก.ค. 61 14:29 น. 7

เป็นโพสที่มีประโยชน์กับเรามากเลยค่ะ เดี๋ยวเราจะลองเอามาปรับใช้กับนิยายของตัวเองดูนะคะ ขอบคุณค่าhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-01.png

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Yamchao_Meewang Member 21 ส.ค. 61 09:03 น. 9

ขอบคุณคำแนะนำดีๆมากๆเลยค่ะ พยายามจะวางพล็อตและทรีตเมนท์ทุกครั้ง แต่เอาเข้าจริงต้องยอมปล่อยตัวละครเล่าเรื่องของมันไปเอง เหมือนเราเป็นคนดู ดูอยู่ห่างๆยังไงไม่รู้ อธิบายไม่ถูก แบบว่าแม้เราเองยังเดาอนาคตของตัวละครนั้นๆไม่ออก มีแต่ตังละครเท่านั้นที่จะรู้ตัวมันเอง อธิบายไม่ถูกเลยอ่า ...มีใครเป็นแบบเรามั้งไหมคะ?

0
กำลังโหลด
เจ้าหนูฤดูฝน Member 15 ต.ค. 61 10:40 น. 10

Treatment นี่บอกตรง ๆ ว่าทำนะ แล้วเหมือนอาถรรพ์ เรื่องไหนทำ เขียนไม่จบสักเรื่อง 555555555555555555555555555555555555555555

1
กำลังโหลด
anchelanie Member 21 มิ.ย. 64 12:28 น. 11

ขอบคุณมากเลยค่ะสำหรับความรู้ดีๆ

ปกติรู้จักแต่การเขียนพล็อตเรื่อง เพิ่งรู้เหมือนกันนะเนี่ยว่ามีการเขียนทรีทเม้นต์ด้วย

0
กำลังโหลด
AlohaWMN Member 27 ส.ค. 64 11:05 น. 12

ของคุณสำหรับบทควาดีๆนะค้า :) ต่อไปนี้จะวางแผนดำเนินเรื่องตามนี้แล้วค่า เพราะหลายเรื่องที่ผ่านมาหลุดออกทะเลไปไกลเลยค่ะ เราเป็นคนที่ด้นสดมาตลอดบางทีคิดไม่ออก ตันก็เขียนไม่จบ อัปไม่เป็นเวลาบ้าง เรื่องไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้เลยค่ะ///สารภาพความจริงทั้งหมดออกมาซะ555 แต่พอมารู้อย่างนี้คงต้องกลับมาตั้งหน้ารีไรท์ใหม่ให้หมดเลยค่ะ ฮึบ!!https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-01.png ///ตั้งหน้ารีไรท์ต่อไป

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Supreme. 2 ม.ค. 66 23:56 น. 14

สรุปคือทรีตเมนต์ก็คล้ายๆกับกรแต่งเนื้อเรื่องโดยที่ยังไม่ใส่บทสนทนาใช่มั้ยคะ? พอดีแต่งนิยายในแอพแล้วรู้สึกนิยายมันขาดหายอะค่ะเลยพึ่งมาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังๆ

0
กำลังโหลด
DittaWrite Member 16 ก.พ. 66 17:23 น. 15

เพิ่มเติมฮะ


เราเข้าใจว่า การเขียนทรีตเมนต์ น่าจะดัดแปลงมาจาก "การเขียนพล็อตบทหนัง"
ลักษณะการเขียนทรีตเมนต์คล้ายๆกัน แต่ต่างกันที่...
ของนิยาย ต้องเขียนทรีตฯ เพื่อมาเขียนเรื่องราวให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการไปด้วยได้
ของหนัง ต้องเขียนทรีตฯ เพื่อมาทำภาพขยับให้คนดู


เราจำได้ว่าเคยค้นเจอบนอินเทอร์เน็ตว่า การเขียนทรีตเมนต์ทำหนังนั้นมีรูปแบบการเขียนอย่างเป็นทางการด้วย ชนิดที่ว่ามีในคลาสเรียนการสร้างหนังเลย
หน้าตาทั้งเหมือนและต่างจากการเขียนทรีตเมนต์ที่นักเขียนต้องเขียน


ถ้าหากเราเข้าใจอะไรผิด ต้องขออภัยฮะ
ヘ⁠(⁠。⁠□⁠°⁠)⁠ヘ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
anchela Member 22 เม.ย. 67 23:59 น. 18

กำลังศึกษาวิธีเขียนทรีทเม้นต์พอดีเลยค่ะ

ที่ผ่านมาดองไว้หลายเรื่อง คิดพล็อตสด ด้นสด ไร้ซึ่งทรีทเม้นต์มาตลอด 555

หลังจากนี้จะเขียนทรีทเม้นต์แล้วค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด