จุดประกายนิยายแฟนตาซี ดาวดวงใหม่ 2 iSnow

New 7 Stars Sataporn Fantasy ย่างก้าวสู่การเป็นนักเขียนหน้าใหม่

การหาข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างการเขียนและการเอาชนะ writer's block ในแบบกัลฐิดา

ทุกครั้งที่เกิดอาการตัน สำหรับกัล นั่นหมายถึง รอยร้าวแห่งความไม่รอบคอบในการเตรียมข้อมูลกำลังแสดงผล หรือ แผนการที่วางเอาไว้อย่างดีไม่เป็นอย่างที่คิด ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นั้นจะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ในนิยายทุกเล่ม (ขอเน้นว่า ‘เล่ม ’ ไม่ใช่ ‘เรื่อง’ นั่นหมายความว่าถ้าเรื่องหนึ่งมีสิบเล่ม คุณจะเจอปัญหานี้มากกว่าสิบครั้งในนิยายเรื่องเดียวกัน)

วิธีการเอาชนะอาการตันของกัล คล้ายกับวิธีของคนหลงทางหาทางกลับบ้านค่ะ นั่นก็คือ เดินมาทางไหน จงเดินย้อนกลับไปทางนั้น แล้วใช้สติของคุณมองรอบทางที่เดินย้อนให้ดี คุณจะพบทางออกแน่นอน

คำถาม : แล้วถ้าจำไม่ได้เหมือนกันว่าเดินมาทางไหน จะทำอย่างไรดี
คำตอบ : ง่ายมาก ก็เริ่มอ่านตั้งแต่หน้าแรกที่เขียนเลยค่ะ เริ่มกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นกันเลยทีเดียว

คำถาม : อ่านมาล้านรอบแล้วก็วนอยู่ที่เดิมแล้วทำอย่างไร
คำตอบ : หยุดอ่านสักพักแล้วกลับมาอ่านรอบที่ล้านหนึ่ง ^^ ในความเป็นจริง การทะลุภาวะตัน ก็คือ การดันทุรังอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญอยู่ที่ใจอย่างเดียว อย่าหนีหรือเผางานตัวเอง (หรือถ้าจะเผาจริงๆ ขอให้เผาอย่างมีศิลปะหน่อย)

คำถาม : ถ้าเพื่อแก้ภาวะตันต้องแก้บางอย่างที่เขียนมาก่อนแล้วได้ไหม
คำตอบ : ถ้าแก้แล้วมันดีขึ้น ก็แก้เถอะค่ะ ไม่ต้องอาย แผนทุกอย่างเปลี่ยนได้ถ้าทำให้เรื่องดีขึ้น แต่ข้อควรระวังก็คือ อย่าแก้จนพลอตเรื่องโย้จนล้มระเนระนาดก็พอ


สืบเนื่องจากนิยายแฟนตาซีเป็นนิยายเรื่องยาว การตีพิมพ์ก็ตีพิมพ์เป็นเล่มต่อ ดังนั้น ความหายนะจะบังเกิดถ้าเราไม่สามารถแก้ตอนต้นเรื่องได้เหมือนกับเวลาที่เราตีพิมพ์หนังสือชุดทีเดียวทุกเล่ม หรือหนังสือเล่มเดียวจบ คำถามคือ ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้แล้วจะทำอย่างไร

แล้ว “นิยายที่สนุก” ของทุกคนละคะ เป็นแบบไหน ถ้ายังนึกไม่ออก กลับไปอ่านหนังสือเยอะๆ พอเจอแล้วอย่าปล่อยให้มันลอยนวลค่ะ นำมาวิเคราะห์เลยว่า เขาทำอย่างไรให้เราสนุกจนวางไม่ลง แล้วเริ่มลงมือเขียน

กัลเรียกวิธีที่กัลใช้ว่า “การหาเหตุผลกับทุกสิ่ง”

กัลจะต้องอ่านนิยายเล่มนั้นๆ ด้วยมุมมองของนักอ่านแล้วตั้งข้อสังเกตออกมา ตั้งข้อสังเกตทั้งเรื่องที่น่าจะตั้งและไม่น่าจะตั้ง ทำเหมือนเราไม่ใช่คนเขียนแต่เป็นคนอ่านที่อ่านแล้วคิดตาม แล้วไม่รู้เลยว่าจะอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า พอทำอย่างนี้แล้ว กัลจะได้เบาะแสมากมายที่นำมาผูกเป็นเรื่อง หรือบางครั้งก็นำมาสานต่อเนื้อเรื่องที่ตันได้อย่างไม่น่าเชื่อ แล้วการทำอย่างนั้น จะช่วยทำให้เนื้อเรื่องยิ่งเข้มข้นและมีความสัมพันธ์มากขึ้น

 
 

ดวงดาวดวงใหม่ ตอนที่ 2 iSnow

ในการทำงานใดงานหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ สิ่งจำเป็นที่จะขาดไปไม่ได้สำหรับตัวผู้สร้างผลงาน ก็คือความรักและความชื่นชอบในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เช่นเดียวกับ “iSnow” นักเขียนสาวผู้เขียนเรื่อง “Circle” นิยายแฟนตาซีขนาดยาวที่เพิ่งวางแผงไปไม่นานนี้ จากลีลาการเขียนที่ติดใจนักอ่านในเว็บไซต์ มาแรงจนกระทั่งสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คนำมาตีพิมพ์ วันนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับเธอซึ่งมีหน้าที่หลักนอกเหนือจากการเขียนนิยาย คือการเป็นคุณหมอจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

ถ้าหากจะบอกว่าการเรียนหมอทำให้เด็กสาวคนหนึ่งกลายเป็นคนเคร่งเครียดและจริงจัง ก็คงจะเป็นคำพูดเกินเลยไปนัก เพราะ iSnow เองก็เคยมีช่วงชีวิตวัยเรียนที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือ วาดภาพ เขียนโปรแกรม เล่นเกม รวมไปถึงการจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ จนออกมาเป็นเรื่องราว เป็นนิยายแฟนตาซีที่เริ่มออกสู่สายตานักอ่านครั้งแรกในเว็บไซต์ Dek-d.com “ทำเพราะว่าชอบ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เราชอบอยู่แล้ว เป็นคนที่ชอบสร้างสรรค์ เป็นคนที่ถ้าสามารถแสดงสิ่งที่อยู่ในความคิดของเราออกมาแล้วจะรู้สึกดีค่ะ”

สำหรับเรื่อง Circle ที่แม้จะไม่ใช่การเขียนเรื่องแรกของ iSnow แต่กลับเป็นงานเขียนที่เธอทุ่มเทตั้งใจทำออกมา ด้วยความรู้สึกที่อยากจะสร้างเนื้อหาที่ตรงกับความชอบของตัวเอง แม้จะตระหนักถึงความยากที่จะหลบหลีกจากแนวนิยายแฟนตาซีที่มีอยู่ซ้ำๆ ในตลาดหนังสือปัจจุบัน

“คือเรื่อง Circle มันค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะมาก แต่หลังจากเราคิดขึ้นได้ว่าอยากจะสร้างเรื่องที่รู้สึกโดนใจเรา เพราะว่าตลาดนิยายในความรู้สึกส่วนตัวนั้นเมืองไทยมันสู้เมืองนอกไม่ได้ มันจะมีในเรื่องของแนวเดิมซ้ำๆ กันเยอะ แล้วตอนนั้นก็อยากจะสร้างเรื่องที่มันเข้าท่าและถูกใจเราขึ้นมาสักเรื่องค่ะ แล้วตัวเองก็เป็นคนที่ชอบคิดรายละเอียดเยอะ เรื่อง Circle มันก็เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนความขัดแย้ง เป็นความขัดแย้งที่เป็นลักษณะของทางเลือกที่ไม่รู้ว่าทางไหนดีกว่ากัน”

ความพิเศษของ Circle นั้นไม่ได้มีแค่การแย่งชิงดินแดนภายในเมืองต่างๆ แต่ iSnow ได้ปรับบิดเนื้อเรื่องสามัญธรรมดาโดยการเสริมแก่นของเรื่องด้วยทฤษฎีทางชีววิทยา อันเป็นโครงเรื่องหลักที่กำหนดทิศทางของเรื่องราว

“จุดที่แตกต่างจากนิยายทั่วไป โดยส่วนตัวรู้สึกว่ามันค่อนข้างจะต่างกันเยอะนะคะ...เอาเรื่องทั้งหมดมาบิดใหม่ คือมันจะมีแก่นของเรื่องอยู่ก็คือทฤษฎีทางชีววิทยา แต่เราก็พยายามเอามาปรุงแต่ง เพราะถ้าไปเอาวิทยาศาสตร์มาใส่ตู้มลงไป มันก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่สนุก แต่ก็พยายามทำให้มันดูน่าติดตามขึ้น เลยเอาองค์ประกอบของนิยายแฟนตาซีเข้ามาเสริม เพื่อที่จะประคองแก่นที่มันอยู่ตรงกลางให้คงอยู่ได้ ใช้เป็นไอเดียหลักที่เป็นโครงว่าเพราะอะไรมันถึงต้องเป็นไปแบบนี้”

มาว่ากันในส่วนของการร่างโครงและวางพลอตเรื่องซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเขียนนิยายทุกคน แต่ iSnow นั้นเริ่มต้นความคิดแรกของการเขียน Circle ด้วยความตั้งใจที่จะส่งเข้าประกวดในโครงการนักเขียนหน้าใหม่งานหนึ่ง แต่ด้วยพลอตเรื่องที่ซับซ้อนบวกกับความยาวของเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจบภายในเล่มเดียวอย่างที่ตั้งใจ ทำให้เธอตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ต่อในรูปแบบของนิยายแฟนตาซีขนาดยาว

“ค่อยๆ สร้างพลอตขึ้นมา แล้วก็พยายามจะทำให้มันสื่อไปในทิศทางที่เราต้องการ มีการวางโครงเรื่องคร่าวๆ เอาจริงๆ เรื่องนี้ก็คือส่งประกวดที่โครงการด้วย วางแผนว่าเรื่องนี้จะมีช่วงที่เป็นไคลแมกซ์ แต่พอมาเขียนดูแล้วเรื่องมันยาว ไม่สามารถจะทำเป็นเล่มเดียวจบได้จริงๆ รายละเอียดของเรื่องมันซับซ้อนมาก เพราะมีเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน ก็เลยกลัวว่ามันจะซับซ้อนจนคนอ่านไม่เข้าใจ ลองเอามาร้อยเรียง อธิบายสิ่งต่างๆ และทำให้คนรู้จักตัวละคร ค่อยๆ เปิดเผยจุดที่เป็นประเด็นของเรื่องที่จะนำไปสู่ไคลแมกซ์ของเรื่องที่เป็นบทสรุป คิดวิธีว่าจะทำยังไงให้สามารถสรุปจบลงอย่างที่สวยที่สุด”

สุดท้ายหลังจากได้โครงเรื่องหลักเพื่อเริ่มต้นเขียนนิยายแล้ว สำหรับมือใหม่อาจจะมีการนำข้อสรุปทั้งหมดที่ได้ไปปรึกษาผู้มีประสบการณ์ทั้งในแง่การเขียนและการอ่าน เพื่อให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่กำลังจะเริ่มต้นเขียนก่อนว่าพอมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ iSnow ได้รับจากเพื่อนรุ่นน้อง แยม Serene R. ผู้เขียนคีตาที่จารจำ ที่คอยให้คำปรึกษาเรื่องการเขียนนิยายเสมอมาก็คือ ให้เป็นตัวของตัวเอง

“คือเขาก็สามารถแนะนำเราได้จุดนึง แต่หลักๆ ที่ฟังแล้วรู้สึกประทับใจก็คือเขาบอกว่าให้เราพยายามเป็นตัวของตัวเอง แต่ว่าเป็นในแบบที่มันสุดกู่หน่อย มันจะได้ดูน่าสนใจ เพราะว่าถ้าเป็นอะไรที่มันตรงกับชีวิตประจำวัน มันจะไม่ตรงกับแนวนิยายของเราซึ่งเป็นแนวแฟนตาซี”

เมื่อเริ่มลงมือเขียนอะไรก็ฉุดไม่อยู่ ถ้าไม่ใช่การแบ่งเวลาจากงานหลักในโรงพยาบาลมาเป็นนักเขียนไม่ได้ เราก็คงไม่มีโอกาสได้ชิมลางนิยายเรื่อง Circle แน่ แต่ iSnow เองกลับสารภาพกับเราตรงๆ ว่าถ้าเป็นสมัยนักศึกษาแพทย์ เธอก็คงจะไม่มีวันเขียนนิยายจบเป็นเรื่องได้เพราะการเรียนนั้นหนักหนาสาหัสมาก

“ต้องอาศัยการจัดการมาก ถ้าเป็นสมัยเรียนนี่ทำไม่ได้เลย พอดีเพิ่งเรียนจบเมื่อปีที่แล้วค่ะ ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เริ่ม และพอดีงานที่ทำก็อยู่ที่ต่างจังหวัดไม่ต้องใช้เวลาเดินทางเยอะ เพราะไปใช้ทุนที่ต่างจังหวัด มีเวลาให้เราสามารถนั่งค่อยๆ แต่งนิยายหลังเลิกงาน โดยไม่ต้องเอาเวลาไปรถติด”

นอกเหนือจากการวางโครงเรื่องที่รัดกุม นักเขียนควรมีคุณสมบัติในเรื่องความละเอียดรอบคอบต่อการเขียนผลงาน เนื้อเรื่องที่สนุกแต่ขาดไร้ความสมเหตุสมผลไม่สามารถจับความสนใจผู้อ่านในระยะยาวได้ ขณะเดียวกับที่เนื้อหาซึ่งมีรายละเอียดยิบย่อยจนเกินไปก็ทำให้การดำเนินเรื่องของนิยายนั้นขาดอรรถรส และอีกหนึ่งความท้าทายต่อนักเขียนทุกคนก็คือ การเปิดเรื่องให้ผู้อ่านอยากจะติดตามตอนต่อๆ ไป

“มันจะมีจุดยากคือ ตอนแต่งบทที่ 1 หลังจากบทนำ บทนี้โดยส่วนตัวสำหรับการเปิดเรื่องมันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะว่าสำนักพิมพ์จะให้นิยายเราตีพิมพ์ไหม หรือว่าคนอ่านเขาจะสนใจต่อไหม ก็ต้องดูที่บทแรกๆ บทนำมันง่ายแต่เรื่องของเรามันมีกฎเกณฑ์เยอะ พอจะเปิดโลกของเนื้อเรื่องจริงๆ ในบทที่ 1 ก็เลยกลายเป็นอะไรที่ยากมาก ยากซะจนต้องรีไรท์ซ้ำไปซ้ำมา แม้ไม่พอใจสักที แต่สุดท้ายก็เอาที่มันดีที่สุดค่ะ”

ก่อนจบบทสัมภาษณ์ ในฐานะที่มีประสบการณ์เขียนหนังสือและมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์ iSnow ได้ฝากข้อคิดให้น้องๆ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยจินตนาการและความสร้างสรรค์ รักษาความเสมอต้นเสมอปลายในการเขียนนิยาย และรับผิดชอบ ประคับประคองให้สามารถเขียนจนจบเล่มได้อย่าเพิ่งท้อถอย

“อยากให้สู้ต่อไป สู้ไม่ท้อถอย คือมันคงไม่มีอะไรที่เราเก่งมาตั้งแต่เกิด กว่าเราจะเก่งได้เราก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราเข้าใจแล้วเราก็จะเก่งขึ้น ถ้าหากว่ามีความฝัน มันเป็นจริงได้ถ้าเราพยายาม”

เพียงแค่เรามอบความรักในการทำสิ่งไหน สิ่งนั้นย่อมสำเร็จอย่างแน่นอน

และครั้งหน้าเราจะมาสัมภาษณ์นักเขียนมาดนิ่ง

ผู้เขียน Magic World Online อย่าลืมติดตามกัน!

7 Stars

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เอวาเจลีนจัง Member 17 พ.ย. 56 13:41 น. 4

แก่นคือชีววิทยาสินะคะ... แต่เราอ่านแล้วนึกถึงสังคมค่ะ

แบบมีศักดินาซึ่งมันก็คือที่ดิน ยิ่งยศสูงยิ่งมีศักดินามาก แล้วกษัตริย์ก็เป็นเจ้าของศักดินาทั้งหมด โดยที่ศักดินาของประชาชนทุกคนก็เป็นศักดินาของกษัตริย์เหมือนกัน 

ตอนแรกเราอ่านเรื่องนี้ไม่ได้คิดอะไร พอย้อนไปเรียนสังคมอีกรอบเริ่มนึกได้ค่ะ 5555

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด