แฉหมดเปลือก เขียนนิยายแฟนตาซีอย่างไรให้สนุก

สวัสดีครับผม ครับผม ครับผม ครับผม (แหม่ ทำยังกะพี่ปลื้ม VRZO ยังงั้นแหละ)

                ทักทายน้องๆ ชาว Dek-D writer กันซะหน่อยพี่หวายเจ้าเก่ากลับมาแล้วครับผม ในช่วงไม่นานมานี้พี่หวายได้ไปร่วมกิจกรรม workshop เขียนแฟนตาซีอย่างไรให้สนุก ซึ่งเว็บเด็กดีของเราจัดร่วมกับสำนักพิมพ์สถาพรและ SCG มานั่นเอง เมื่อได้เข้าร่วมแล้วก็อดที่จะเอาเคล็ดลับและความรู้มาฝากชาว Dek-D writer ไม่ได้เลย มาดูกันเลยดีกว่า
 
                เขียนให้จบ

                สั้นมั้ยครับ ง่ายๆ สั้นๆ ตรงประเด็นเลย เป็นสิ่งที่ คุณคฑาวุฒิ บุษปะเกศ ผู้เขียนบทละคร “เหนือเมฆ 2” กล่าวไว้ตอนเริ่มบรรยาย เพราะว่านัก (อยาก) เขียนนิยายหน้าใหม่ มักจะเขียนแล้วเลิก ไม่มีแรงบันดาลใจ หรือว่าเกิดจากความเห่อประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็เลิก เพราะฉะนั้นคำนแนะนำแรกก็คือย่อหน้าข้างบนครับ

                เขียนให้จบ (ย้ำทำไมเนี่ย)
 

                เอาล่ะครับ เมื่อได้รับคำแนะนำเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราก็มาดูเคล็ดลับในการสร้างเรื่องนิยายกันเลยดีกว่า ในนิยายหนึ่งเรื่องก็จะมาจาก

                Idea หรือแนวความคิดของนิยายซึ่งได้มาจาก เรื่องราวที่สะเทือนใจ – ประทับใจ หรือจากที่เราดูหนังและอ่านหนังสือมา จากเรื่องเล่าหรืออะไรก็ตามแต่สามารถนำมาใช้เป็นไอเดียได้ทั้งหมด

                 ต่อมาก็คือการกำหนด Theme หรือแก่นเรื่อง (ไม่ใช่แก่นกายนะจ้ะ รู้ทัน) ซึ่งธีมนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางเนื้อหาในนิยายของเรา นิยายของเราต้องการจะบอกอะไรกับคนอ่าน กำลังตั้งคำถามกับประเด็นอะไร และต้องการจะหาคำตอบไปในแนวทางใด จะเฉลยในเล่มหรือไม่ หรือจะให้ผู้อ่านเป็นผู้ค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง

                 ที่สำคัญก็คือ นิยายหนึ่งเรื่อง ควรจะมีหนึ่ง Theme รักเดียวใจเดียว ยึดมั่นไปจนจบเรื่องนะครับ เช่น นิยายของพี่หวายมี Theme ว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม เรื่องราวในนิยายของพี่หวายก็จะต้องมุ่งเน้นและแสดงให้ผู้อ่านรับรู้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว พระเอกของเราย่อมต้องเอาชนะตัวโกงได้ ไม่ใช่เขียนไปเขียนมา พระเอกกลายเป็นตัวโกงไป อันนั้นก็ถือว่าหลุดจาก Theme ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกนั่นเองครับน้องๆ

                เมื่อมี Idea แล้ว สกัดออกมาเป็น Theme ได้เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาเอามายำกันให้นัวแล้วครับ นั่นก็คือการวาง Plot หรือการวางโครงเรื่องนั่นเอง ซึ่งในโครงเรื่องก็เป็นการกำหนดเหตุการณ์สำคัญๆ ที่จะเกิดขึ้นในเรื่อง รวมไปถึงเหตุการณ์ย่อยที่จะมาสนับสนุนเหตุการณ์หลักนั้นๆ ให้มีความสมเหตุสมผล และมีความสนุก ตื่นเต้นเร้าใจมากยิ่งขึ้น

                จุดสำคัญอีกอย่างของนิยายก็คือ จุดขัดแย้ง (Conflict) ลองคิดดูว่าหากเราอ่านนิยายแล้วไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ขัดแย้งกันเลย พระเอกกับนางเอกรักกันทั้งเรื่อง หรือว่าพระเอกออกตามหาแหวนในตำนานแต่ไม่เจอแม้แต่มอนสเตอร์ หรือคู่แข่งเลยก็คงจะไม่สนุก (และไม่รู้ว่าจะเขียนไปทำไมด้วย) เราจึงได้ทำการแบ่งจุดขัดแย้งออกมาเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ความขัดแย้งระหว่าง คน – คน, คน – สิ่งแวดล้อม, คน – ตัวเอง พอจะเห็นภาพคร่าวๆ ไหมครับ พอเริ่มมีจุดขัดแย้ง เริ่มมีคู่แข่ง เริ่มมีการท้าทายอำนาจธรรมชาติและบ้านเมือง รวมไปถึงการต่อสู้ภายในจิตใจของตัวเองแล้ว นิยายของเราก็เริ่มจะเป็น “เรื่อง” บ้างแล้วใช่ไหมล่ะครับ
 

 
                ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ อ่านบทความของพี่หวายจบแล้วต้องมีคนเปิดนิยายเรื่องใหม่เพิ่มอีกแน่นอน ทีนี้เราก็นำองค์ประกอบมาร้อยเป็นเรื่องเข้าด้วยกันอันได้แก่ เงื่อนไข นำไปสู่ เหตุการณ์ถึงจุดสุดยอด (Climax) และสามารถ คลี่คลายเรื่องราว ทั้งหมดได้ในที่สุด ซึ่งในส่วนนี้ น้องๆ อาจจะสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้ตามความชอบและสไตล์ส่วนตัวได้เลยนะครับ อาจจะพลิกผัน หักมุม ขยี้ประเด็น เค้นให้ผู้อ่านถึงจุดสุดยอด (Climax นั่นแหละ) หลายรอบ (แหม่ จะโดนพี่น้องแบนบทความไหมนะ)

                เป็นยังไงกันบ้างครับ จัดเต็มสะใจกันบ้างไหมครับสำหรับเคล็ดลับที่พี่หวายเอามาแบไต๋กันในคราวนี้ ยังไงลองเอาไปปรับใช้ในนิยายตัวเองดูนะครับ พี่หวายเชื่อว่าต้องได้ประโยชน์กันไปบ้างแน่นอน ก่อนจะจากกันไปขอฝากทิ้งท้ายเอาไว้ให้กับนัก (อยาก) เขียนนิยายแฟนตาซีที่กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในดินแดนมหัศจรรย์นี้ต่อไปในอนาคต เดาได้ไหมครับว่าคืออะไร

เขียนให้จบไงครับ!
 
 

ขอขอบคุณ คุณ  อาลัมพายน์ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่นำมาแบ่งปัน
ให้กับเพื่อนๆ ชาว 
Dek-D writer มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
พี่หวาย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

FIRsT Member 21 ต.ค. 56 20:27 น. 7

เงื่อไขแอบยาก..."เขียนให้จบ." ถถถถถถถถ

มันยากตรงนี้แหละค่ะ 55555555

แล้วมันก็จะติดตรงที่ "แรงบันดาลใจหดหาย" เขียนไปซักพักมันก็เป็น

"คิดพล็อตออก แต่เขียนออกมาไม่ได้ ไม่รุ้จะบรรยายยังไง"

อันนี้ปัญหาข้อใหญ่บิ๊กของหนูเลยค่ะ...เสียใจ

4
กำลังโหลด
Kuroi Member 21 ต.ค. 56 13:12 น. 2

เคยเรียนมาเหมือนกันครับ

Conflict ประกอบไปด้วย Internal Conflict (ปัญหาภายใน จะเป็น คน-ตัวเอง เท่านั้น) กับ External Conflict (ปัญหาภายนอก จะเป็น คน-คน และ/หรือ คน-สิ่งแวดล้อม)

ตัวอย่าง คน-คน ก็จะเป็นปัญหาระหว่างคนทั่วไป เห็นกันได้บ่อยและง่ายมาก

คน-ตัวเอง มักจะเป็นการต่อสู้กบจิตใจของตน พยายามเอาชนะตัวตนอีกตัวของเราเพื่อการตัดสินใจต่างๆ

คน-สิ่งแวดล้อม หลายคนอาจจะงงว่าคนไปมีปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ยังไง คำตอบมีให้เห็นในหนังแนวภัยธรรมชาติอย่าง 2012 หรือ The Impossible (สึนามิ 2004) ครับ

1
กำลังโหลด
Phantom_Rose Member 29 ธ.ค. 57 12:26 น. 28

เขียนให้จบยากที่สุดแล้วจริงๆ เราเป็นหนึ่งในนั้น 5555 แต่อย่าเพิ่งพูดถึงตอนจบเลยค่ะ ตอนนี้ยังไม่ทันเริ่มเขียนเลย พล็อตไม่ออกแล้ว สงสัยเริ่มแก่แล้วจินตนาการหายมั้ง

ตอนเราเด็กๆเขียนนิยายทุกวันเลย คิดเรื่องออกได้ทุกวี่ทุกวัน แถมช่างเว่อร์ แต่แต่งแบบปากพูดเอา ไม่ได้เขียนใส่สมุด ถ้าเขียนใส่สมุดทีไร สมุดมันเป็นตัวดูดความคิดชัดๆเลย 555 แต่งไม่เคยจบ แต่พล็อตนี่หลากหลายมาก ไม่รู้คิดได้ไง พอโตขึ้นสมัครเด็กดีก็อยากเอานิยายมาลง แต่ไม่ทันแล้ว ลืมหมดอ่ะ 5555

0
กำลังโหลด
จันทร์เสี้ยวสีส้ม Member 21 ต.ค. 56 16:07 น. 5

เขียนให้จบ!

แหม่ย้ำจัง  

เหมือนที่ใครพูดไว้จำไม่ได้(ขออภัย  เหอะเหอะ ) ให้หาจุดจบก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าจะดำเนินไปถึงจุดจบได้ยังไง ไม่งั้นจะหลงออกทะเลไปเรื่อยๆ (เขาไม่ได้พูดแบบนี้นะ เราเรียบเรียงใหม่)

1
hawaii Member 28 ต.ค. 56 02:12 น. 5-1
เคยเรียนมาครับ เค้าบอกว่า นักเขียนทุกคนก่อนจะเขียนเรื่องมักจะมีประโยคจบไว้ในหัวอยูี่แล้ว เลยจะเขียนเรื่องเพื่อไปสู่บทจบที่วางเอาไว้นั่นเองครับ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

36 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Kuroi Member 21 ต.ค. 56 13:12 น. 2

เคยเรียนมาเหมือนกันครับ

Conflict ประกอบไปด้วย Internal Conflict (ปัญหาภายใน จะเป็น คน-ตัวเอง เท่านั้น) กับ External Conflict (ปัญหาภายนอก จะเป็น คน-คน และ/หรือ คน-สิ่งแวดล้อม)

ตัวอย่าง คน-คน ก็จะเป็นปัญหาระหว่างคนทั่วไป เห็นกันได้บ่อยและง่ายมาก

คน-ตัวเอง มักจะเป็นการต่อสู้กบจิตใจของตน พยายามเอาชนะตัวตนอีกตัวของเราเพื่อการตัดสินใจต่างๆ

คน-สิ่งแวดล้อม หลายคนอาจจะงงว่าคนไปมีปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ยังไง คำตอบมีให้เห็นในหนังแนวภัยธรรมชาติอย่าง 2012 หรือ The Impossible (สึนามิ 2004) ครับ

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Quantum Member 21 ต.ค. 56 14:15 น. 4

เรื่องความขัดแย้งระหว่าง คน-คน ยังแบ่งได้อีกนะครับ

คน 1 คน ขัดแย้งกับคนอีก 1 คน (ตัวเอกกับตัวร้าย)

กับคน 1 คน ขัดแย้งกับสังคม (ตัวเอกโดดเดี่ยว สังคมรุมประณาม)

0
กำลังโหลด
จันทร์เสี้ยวสีส้ม Member 21 ต.ค. 56 16:07 น. 5

เขียนให้จบ!

แหม่ย้ำจัง  

เหมือนที่ใครพูดไว้จำไม่ได้(ขออภัย  เหอะเหอะ ) ให้หาจุดจบก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าจะดำเนินไปถึงจุดจบได้ยังไง ไม่งั้นจะหลงออกทะเลไปเรื่อยๆ (เขาไม่ได้พูดแบบนี้นะ เราเรียบเรียงใหม่)

1
hawaii Member 28 ต.ค. 56 02:12 น. 5-1
เคยเรียนมาครับ เค้าบอกว่า นักเขียนทุกคนก่อนจะเขียนเรื่องมักจะมีประโยคจบไว้ในหัวอยูี่แล้ว เลยจะเขียนเรื่องเพื่อไปสู่บทจบที่วางเอาไว้นั่นเองครับ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FIRsT Member 21 ต.ค. 56 20:27 น. 7

เงื่อไขแอบยาก..."เขียนให้จบ." ถถถถถถถถ

มันยากตรงนี้แหละค่ะ 55555555

แล้วมันก็จะติดตรงที่ "แรงบันดาลใจหดหาย" เขียนไปซักพักมันก็เป็น

"คิดพล็อตออก แต่เขียนออกมาไม่ได้ ไม่รุ้จะบรรยายยังไง"

อันนี้ปัญหาข้อใหญ่บิ๊กของหนูเลยค่ะ...เสียใจ

4
กำลังโหลด
R E N [ กิ น จั ง ] Member 22 ต.ค. 56 16:13 น. 8

คดิได้แต่ตอนจบอ่ะ เสียใจ

ตอนก่อนจบคิดไม่ออกเขิลจุง(แหมอายจัง)

ทุกเรื่องที่แต่งมาไม่มีเรื่องไหนจบยกเว้นเรื่องสั้นเลย(ฮา)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มธุรัตนากร Member 22 ก.พ. 57 07:01 น. 20

เขียนให้จบ หวาา  !!!! ตรงจริงๆ โดยเฉพาะแนวนี้ หลุดโลก (นอก plot) ออกไปได้ง่ายมาก 

ขอบคุณมากค่ะ ขึ้นสวรรค์ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด