10 เรื่องแปลกของหนังสือ ที่ไม่เคยมีใครรู้

 

 

           พักเรื่องหนักๆ กันบ้าง ไรบ้าง เดี๋ยวนักเขียนชาวเด็กดีจะไขมันสูง เอ้ย! ความดันสูงกันไปเสียก่อน

           จริงๆ คือให้พัก ก่อนจัดหนักสัปดาห์หน้าจ้ะ (มีการบ้านให้ฝึกด้วย...นั่น แค่การบ้านที่โรงเรียนไม่พอ แต่การบ้านของพี่อิงดีที่สุดนะ เพราะไม่ต้องส่ง)

           วันนี้พี่อิงเอาเรื่องแปลกๆ น่ารู้เกี่ยวกับหนังสือมาเล่าให้ทุกคนฟังกัน บางข้อต้องย้อนกลับไปสมัยโน้น....สมัยที่คนยังใส่ชุดฟูฟ่อง ใส่สุ่ม ขี่ม้ากันอยู่เลย ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

 

           1. หนังสือสมัยแรกๆ ในประวัติศาสตร์ ไม่มีการระบุชื่อผู้แต่ง ไม่มีแม้กระทั่งชื่อหนังสือบนปก (แล้วเขาจะเรียกหนังสือแต่ละเล่มว่าอะไรว้า งงจริง!?)

 

           2. สมัยก่อน เวลาจัดเก็บหนังสือเข้าชั้น จะเก็บแบบ "ตรงข้าม" กับสมัยนี้ นั่นก็คือหันเอาด้านเปิดออกมา แล้วเอาด้านสันเข้ากำแพง (แล้วจะมองหาหนังสือกันยังไงเนี่ย?!)

 

 

           3. สมัยก่อน หนังสือจะถูกคล้องโซ่ ล็อกไว้กับชั้นในห้องสมุดด้วย (คงกลัวคนขโมยจัด)

 

           4. สมัยก่อน (อีกแหละ) หนังสือที่ซื้อขายกันไม่ได้เย็บเป็นเล่มมีปกแบบสมัยนี้นะ เขาขายกันเป็นปึกๆ คือไม่เย็บเล่ม แค่เอากระดาษมาเรียงซ้อนๆ กัน (นึกสภาพเวลาเราซีรอกซ์นั่นแหละ) และถ้าใครต้องการเย็บเล่ม ก็ต้องเอาปึกกระดาษไปที่ร้านเย็บเล่มกันเอง

 

           5. เป็นที่รู้กันว่า 1 ใน 8 ของคำที่พบในหนังสือ จะต้องมีตัว "E" ผสมอยู่ด้วย (ถ้าเทียบกับภาษาไทยก็คือ 1 ใน 8 คำ จะต้องได้เจอรูปสระสักตัว ไม่ว่าจะสระ อี อา เอ) 

 

           6. จากข้อ 6 รู้ไหมว่า ในปี 1939 นักเขียนที่ชื่อ "เออร์เนสต์ วินเซนต์" (Ernest Vincent) ได้เขียนนิยายความยาว 50,000 คำ ชื่อว่า "Gadsby" แต่ในจำนวน 5 หมื่นคำนั้น ไม่มีตัว "E" ปรากฏอยู่เลยแม้แต่ตัวเดียว! (เป็นไอเดีย ให้น้องๆ นักเขียนเด็กดีลองเขียนกันดูไหม นิยายสักเรื่องที่ไม่มี "" เลยสักตัวเดียว)

 

           7. ในหนังสือ "Les Miserables" อันโด่งดังของ วิกเตอร์ ฮิวโก มีอยู่ประโยคหนึ่งที่ประกอบด้วยคำทั้งหมด 823 คำ (!!! เขียนเข้าไปได้ไง) แล้วพอวิกเตอร์เขียนไปถามกองบรรณาธิการ ถึงความเห็นเกี่ยวกับประโยคอันยาวเหยียดนี้ วิกเตอร์เขียนไปว่า "?" (เครื่องหมายคำถามตัวเดียว) กองบรรณาธิการก็ตอบกลับมาว่า "!" (อัศเจรีย์เพียงตัวเดียว ตกใจจนไม่รู้จะพิมพ์อะไร)

 

 

           8. รู้ไหมว่า เชคสเปียร์เป็นคนคิดค้นคำว่า "hurry" (แปลว่า รีบเร่ง) และยังมีคำอีกมากมายที่เขาเป็นคนประดิษฐ์ (น้องๆ ลองประดิษฐ์กันดูบ้างก็เป็นไอเดียที่น่าสนุกนะ แต่อย่าประดิษฐ์ภาษาวิบัติละ ไม่ดีๆ)

 

           9. เฉพาะในอเมริกา แต่ละปีมีหนังสือถึง 50,000 เล่มได้ตีพิมพ์ (!!!!) ส่วนในประเทศไทย เฉพาะปี พ.. 2552 มีหนังสือตีพิมพ์ทั้งหมด 13,607 เล่ม

 

           10. ในอเมริกา ทุกๆ 1 วินาทีจะมีหนังสือขายไป 57 เล่ม (!!! โอ้ว อยากให้เมืองไทยเป็นบ้าง นักเขียนจะได้รวยๆ) เปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้ว อ้างอิงจากสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ คนไทยมีกำลังซื้อหนังสือ เฉลี่ยคนละ 296.55 บาทต่อปี (ตกประมาณหนังสือ 1-2 เล่มต่อปี)  

           นี่ไม่ได้แปลว่าคนไทยจนนะคะ เพราะเมื่อเทียบกับรายได้ต่อหัว คนไทยใช้เงินซื้อหนังสือประมาณแค่ร้อยละ 0.22 ของรายได้เอง (แปลว่ามีเงิน 100 บาท ซื้อหนังสือแค่ 22 สตางค์) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ชี้ให้เห็นว่า คนไทยให้ความสำคัญกับการซื้อหนังสือน้อยมาก  

 

 

           ครบ 10 ข้อแล้ว จริงๆ มีเยอะกว่านี้ แต่บางข้อจะเป็นข้อมูลเฉพาะท้องที่เกินไป พี่อิงอ่านแล้วไม่เก็ท เลยไม่เอามา พอหาข้อมูลเสร็จ สิ่งหนึ่งที่ทำให้พี่อิงห่วงก็คือ การอ่านหนังสือกับคนไทย

           จะฝากถึงผู้ใหญ่ก็คงไม่ได้ เพราะคงไม่มีผู้ใหญ่เข้ามาอ่าน พี่อิงก็ขอฝากน้องๆ แทนแล้วกันว่า ต่อไปในอนาคต ตอนได้เป็นคุณพ่อคุณแม่แล้ว ให้สนับสนุนลูกๆ อ่านหนังสือด้วยนะจ๊ะ

           พี่อิงเคยมีประสบการณ์ เป็นคนขายหนังสือในงาน แล้วพ่อแม่บางคน แทบจะโยนหนังสือนิยายที่ลูกหยิบทิ้ง (T-T) ต่อหน้าพี่นี่แหละ แล้วพูดเสียงดังฟังชัดว่า "ไร้สาระ ไร้ประโยชน์ เอาเวลาไปอ่านหนังสือเรียนดีกว่า" พี่อิงอยากจะบอกเหลือเกินว่า การเริ่มต้นปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านต่างหาก ที่สำคัญที่สุด ถ้าเด็กไม่รักการอ่านแม้กระทั่งหนังสือการ์ตูน ก็อย่าหวังให้เขาอ่านหนังสือเรียน

           พี่อิงเองก็เริ่มอ่านหนังสือเล่มแรกในชีวิตคือขายหัวเราะ จากนั้นก็รื่นเริงไปกับการ์ตูนนานาชนิด แต่ไม่เคยเสียเรื่องเรียนเลยนะ เกรดสวยงามตลอด

           ส่วนเรื่องคนไทยซื้อหนังสือน้อย จะว่าคนไทยไม่ให้ความสำคัญอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ต้องฝากถึงรัฐบาลด้วยให้ลดภาษีหนังสือบ้าง ภาษีนักเขียนบ้าง เก็บกันโหดจริงๆ หนังสือก็เลยแพง คนซื้อก็ไม่มีปัญญาซื้อ เฮ้อ กลุ้มๆๆ

           บ่นเหมือนคนแก่เลย จบคอลัมน์ดีกว่า เดี๋ยวไปกันใหญ่ เจอกันใหม่กับพี่อิงตอนหน้านะจ๊ะ จะเข้าสู่เนื้อหาเข้มข้นเพื่อฝึกหัดนักเขียนกันต่อแล้ว

 

 

  

ข้อมูล: earthlypursuits.com,bangkokbiznews.com

ideasofindian.blogspot.com

รูปประกอบ: beta.i3.in.th, ebooksx.com

oknation.net, joycemoore.blogspot.com

 

พี่อิง
พี่อิง - Columnist คอลัมนิสต์เว็บ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ผู้หญิงหลายบุคลิก Member 18 ก.พ. 54 10:17 น. 4

ปัจจุบันวัยรุ่นไทยจำนวนมากหันมาสนใจอ่านหนังสือแล้ว แถมติดมากอีกด้วย แต่ที่น่าเศร้าคือมันเป็นหนังสือนิยาย

1
กำลังโหลด
Me-TREAT Member 18 ก.พ. 54 08:55 น. 2
 เราว่าคนไทยไม่ได้ไม่อยากซื้อหนังสือหรอก เค้าไปอ่านฟรีในร้านเลยมากกว่ามั้ง 555+
 (คหสต.นะ)
0
กำลังโหลด
นาJฟ้าxมดเก๊ก Member 18 ก.พ. 54 16:05 น. 9
 อ๊า พี่อิงพูดโดนมาก ๆๆ

" ถ้าเด็กไม่รักการอ่านแม้กระทั่งหนังสือการ์ตูน ก็อย่าหวังให้เขาอ่านหนังสือเรียน "




0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เด็กดี_เอามั่กๆ Member 18 ก.พ. 54 14:07 น. 7
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะเราเองก็เป็น พอซื้อหนังสือนิยายแม่ก็บอกว่าซื้อทำไมเปลือง ไร้สาระอีก หารู้ไม่ว่าความรู็ที่เราได้ส่วนหนึ่งก็มาจากนิยายนี่แหล่ะ แต่ที่คนไทยไม่ซื้อหนังสือก็ใช่ว่าจะอ่านกันน้อยนะคะ เราว่าคนไทยก็อ่านหนังสือเยอะเหมือนกัน แต่ไม่มีตังค์ซื้อหนังสือต่างหาก หนังสือดีๆเล่มนึงตั้งกี่ร้อยกันบางคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่งบไม่พอก็ซื้อหนังสือไม่ได้ หากรัฐบาลเก็บภาษีหนังสือน้อยลงกว่านี้คนไทยคงได้มีหนังสือเต็มบ้านกันแน่
0
กำลังโหลด

88 ความคิดเห็น

แป้งโกกิ Member 18 ก.พ. 54 08:27 น. 1

สำหรับข้อ 3 นั้น คิดว่าเพราะสมัยก่อนอาจจะยังไม่มีหนังสือมากนัก จะหาอ่านก็ยาก เลยต้องล่ามโซ่เอาไว้ ( มั้งนะ ฮ่ะๆ )

ส่วนข้อ 5 กับ 6 มันเป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก!!

แต่ชอบข้อ 7 มากที่สุดเลยค่ะ สงสัยกองบรรณาธิการคงพูดอะไรไม่ออกจริงๆ

อืม...สุดท้าย เห็นด้วยเลยค่ะว่าถ้าไม่รักการอ่านแม้กระทั่งหนังสือการ์ตูนแล้วจะไปอ่านหนังสือเรียนได้อย่างไร แป้งเองก็อ่านทั้งการ์ตูน ทั้งนิยาย แต่เกรดก็ออกมาดีเหมือนกันค่ะ

ความจริงการอ่านนิยายและการ์ตูนมันก็ช่วยให้เราอ่านหนังสือเรียนได้ดีขึ้นนะคะ เพราะเราจะมีสมาธิมากขึ้น แต่ก็ต้องแบ่งเวลาให้เป็นด้วย

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆ นะคะ >..<

0
กำลังโหลด
Me-TREAT Member 18 ก.พ. 54 08:55 น. 2
 เราว่าคนไทยไม่ได้ไม่อยากซื้อหนังสือหรอก เค้าไปอ่านฟรีในร้านเลยมากกว่ามั้ง 555+
 (คหสต.นะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ผู้หญิงหลายบุคลิก Member 18 ก.พ. 54 10:17 น. 4

ปัจจุบันวัยรุ่นไทยจำนวนมากหันมาสนใจอ่านหนังสือแล้ว แถมติดมากอีกด้วย แต่ที่น่าเศร้าคือมันเป็นหนังสือนิยาย

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Someone Around 18 ก.พ. 54 13:26 น. 6
ส่วนตัวผมชอบอ่านนิยายเหมือนกันครับ แต่เป็นนิยายเก่า ๆ แบบประมาณ คู่กรรม จุฬาตรีคูณ ปริศนา อะไรประมาณนั้น เพราะคิดว่าอย่างน้อยมันก็ได้อะไรบ้างนอกจากความเพลิดเพลินทั้งมุมมองใหม่ ๆ และเรื่องสะท้อนสังคม ผมว่าบางที การที่ผู้ใหญ่ไม่อยากให้เราอ่านนิยายอาจเป็นเพราะในอดีตก็เคยโดนเหมือนกัน แม้ว่านิยายสมัยนี้จะไม่เหมือนกับสมัยก่อน แต่ถ้าไม่ให้เริ่มตอนนี้ก็อย่าหวังว่าหนังสือที่ผู้ใหญ่คิดว่าดีนักหนาจะมีคนอ่าน เพราะไม่มีใครชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่แรกแล้ว... ทุกอย่าง มีประโยชน์อยู่ในตัว ขึ้นกับว่าเราจะมองเห็นมันหรือไม่...
0
กำลังโหลด
เด็กดี_เอามั่กๆ Member 18 ก.พ. 54 14:07 น. 7
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะเราเองก็เป็น พอซื้อหนังสือนิยายแม่ก็บอกว่าซื้อทำไมเปลือง ไร้สาระอีก หารู้ไม่ว่าความรู็ที่เราได้ส่วนหนึ่งก็มาจากนิยายนี่แหล่ะ แต่ที่คนไทยไม่ซื้อหนังสือก็ใช่ว่าจะอ่านกันน้อยนะคะ เราว่าคนไทยก็อ่านหนังสือเยอะเหมือนกัน แต่ไม่มีตังค์ซื้อหนังสือต่างหาก หนังสือดีๆเล่มนึงตั้งกี่ร้อยกันบางคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่งบไม่พอก็ซื้อหนังสือไม่ได้ หากรัฐบาลเก็บภาษีหนังสือน้อยลงกว่านี้คนไทยคงได้มีหนังสือเต็มบ้านกันแน่
0
กำลังโหลด
psyren Member 18 ก.พ. 54 15:48 น. 8
ข้อ10ไม่จริงเลยครับสำหรับผม
เพราะทุกอาทิตย์ผมจะต้องซื้อหนังสืออย่างน้อย
3-5เล่ม! แต่พอมาดูเงินในกระเป๋าทีหลังทีก็น่าซีดเหงื่อตกทุกครั้ง
อา...พลังของหนังสือมันช่างน่ากลัวนัก 5555
0
กำลังโหลด
นาJฟ้าxมดเก๊ก Member 18 ก.พ. 54 16:05 น. 9
 อ๊า พี่อิงพูดโดนมาก ๆๆ

" ถ้าเด็กไม่รักการอ่านแม้กระทั่งหนังสือการ์ตูน ก็อย่าหวังให้เขาอ่านหนังสือเรียน "




0
กำลังโหลด
พีพี[PP][2010] Member 18 ก.พ. 54 16:26 น. 10

เพชรก็ชอบอ่านหนังสือมากกกก บ้าคลั่งสุดๆ
อย่างขายหัวเราะ มหาสนุก อ่านกันตาแฉะเลยทีเดียว ><

ปล. หนังสือการ์ตูนความรู้ กับ นิยาย จะแพงไปไหน ไม่มีเงินเฟ้ย! -*-
ปลล. พ่อแม่ที่ทิ้งหนังสือลูกอ่ะ โหดร้ายมากมาย TOT

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
whitelake Member 18 ก.พ. 54 20:42 น. 14
ค่าเฉลี่ยของคนไทย - -* ต่ำได้ใจ แต่ผมอ่านนิยาย เฉลี่ยประมาณปีละ 7 เล่มเป็นอย่างต่ำ การ์ตูนเกือบร้อย = = 5 5 5+
0
กำลังโหลด
whitelake Member 18 ก.พ. 54 20:42 น. 15
ค่าเฉลี่ยของคนไทย - -* ต่ำได้ใจ แต่ผมอ่านนิยาย เฉลี่ยประมาณปีละ 7 เล่มเป็นอย่างต่ำ การ์ตูนเกือบร้อย = = 5 5 5+
0
กำลังโหลด
molina Member 18 ก.พ. 54 22:10 น. 16
อึ้งคะ ไม่อยากจะเชื่อว่าซื้ออ่านกันน้อยขนาดนี้ ทั้งที่โมลิน่าซื้อหนังสือ1-2เล่ม(หรือมากกว่า)ทุกเดือน อ่านหนังสือใหม่ตลอด ไม่ได้ช่วยเฉลี่ยบ้างเลยหรอค่ะ T^T

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2554 / 13:52
0
กำลังโหลด
black_serpent Member 19 ก.พ. 54 02:06 น. 17

แต่งโดยไม่มีตัว E นี้เก่งนะคะ

พี่อิงหาข้แมลมาจากไหนคะเนี้ย ได้ความรู้มากๆเลย

ปกติอ่านหนังสือเฉลี่ยปีนึงเกิน10เล่มนะคะ  แบบว่าอ่านหมดไม่ว่าจะการ์ตูน นิยาย
พ่อแม่ชอบหาว่าไร้สาระ หารู้ไม่ว่าความรู้รอบตัวได้มาจากนิยายเยอะมาก
แต่ถึงจะอ่านเยอะยังไงการเรียนก็ไม่เคยทิ้งนะคะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Nico Riona Member 19 ก.พ. 54 10:25 น. 20

โอ้ว...ไม่น่าเชื่อ...

ชอบประโยคที่บอกว่า
"ถ้าเด็กไม่รักการอ่านแม้กระทั่งหนังสือการ์ตูน ก็อย่าหวังให้เขาอ่านหนังสือเรียน "อะ มันโดนใจดี

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด